การวิเคราะห์ทางเลือกการก่อสร้างถนนระดับดินแบบชิ้นส่วนสำเร็จด้วยวิธี ELECTRE II

ผู้แต่ง

  • คมกฤษณ์ เวฬุดิตถ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • วัชระ สัตยาประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

คำสำคัญ:

ถนนระดับดิน, พื้นทางชิ้นส่วนสำเร็จรูป, โครงการก่อสร้างถนน, วิธีพิจารณาข้อได้เปรียบของทางเลือกแบบ ELECTRE II

บทคัดย่อ

การสร้างถนนระดับดินโดยหล่อคอนกรีตในที่นั้น มีลักษณะที่กิจกรรมก่อนหน้าจะต้องทำให้เสร็จก่อนจึงจะสามารถเริ่มกิจกรรมต่อไปได้ แต่สำหรับผิวทาง หากแยกขึ้นรูปเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูป(Precast Concrete Pavement system, PCPs) แล้วนำไปติดตั้งบนผิวชั้นรองพื้นทาง จะช่วยลดเวลาทั้งหมดของโครงการลง วิธีนี้ยังสามารถควบคุมคุณภาพของชั้นผิวทางได้ดีกว่าการหล่อแบบอยู่กับที่ ทั้งนี้ เพื่อทราบความแตกต่างของผลลัพธ์โดยรวมของโครงการจำเป็นต้องวิเคราะห์การก่อสร้างโดยใช้ชิ้นส่วนสำเร็จรูปเข้าร่วมและเปรียบเทียบภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน ทั้งในด้านเวลา ต้นทุน และคุณภาพของวิธีการก่อสร้างทั้งสองรูปแบบภายใต้เงื่อนไขของปัจจัยหลายอย่างพร้อมกัน โดยงานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการก่อสร้างทั้ง 2 วิธี ด้วย ELECTRE II และนำผลที่ได้มาสร้างเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกวิธีการก่อสร้างสำหรับสร้างถนนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งมีสภาพแวดล้อมและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เงื่อนไขทั้งหมดจะถูกกำหนดภายใต้หลักการของวิศวกรรมถนนและจราจร รวมถึงหลักการบริหารโครงการ จากเส้นทางตัวอย่างที่ศึกษา พบว่าสามารถเลือกใช้ PCPs โดยวิธีนี้อาจใช้ในรูปแบบของการหล่อคอนกรีตแบบผสมผสานที่มีการติดตั้งส่วนโค้งด้วยการหล่อในที่ และทำแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปเฉพาะในแนวเส้นตรง และอาจใช้การก่อสร้างหลายช่วงควบคู่กันไปด้วย หากสามารถนำวิธีการดังกล่าวไปปฏิบัติใช้ในการก่อสร้างได้ ระยะเวลารวมของโครงการจะลดลงและคุณภาพในงานก่อสร้างจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ตามความเห็นที่ได้มาจากการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญแล้ว ความเห็นในการเลือกใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปในแง่ของความคุ้มค่าสำหรับโครงการเดียวอาจยังทำได้ยาก เนื่องจากเงินลงทุนเริ่มต้นค่อนข้างสูงเพื่อผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปและติดตั้ง นอกจากนี้ความรู้และความชำนาญสำหรับผู้ปฏิบัติงานก็มีความสำคัญ และจะต้องมีการลงทุนและจัดการในเรื่องนี้ร่วมด้วย อีกทั้งปัจจัยทางอ้อมที่ไม่ได้คำนึงถึง เช่น การฝึกอบรมและการจัดสรรบุคลากรเพื่อทำงานในการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

เวฬุดิตถ์ ค., & สัตยาประเสริฐ ว. (2023). การวิเคราะห์ทางเลือกการก่อสร้างถนนระดับดินแบบชิ้นส่วนสำเร็จด้วยวิธี ELECTRE II. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, CEM46–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2051