แนวคิดการออกแบบทางหลวงสายหลักที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับประเทศไทย เพื่อสร้างสมดุลการใช้ความเร็วกับวิถีชีวิตของชุมชนสองฝั่งทางหลวง

ผู้แต่ง

  • ปฏิเวชวุฒิศักย์ สุขขี สำนักงานทางหลวงที่ 16 กรมทางหลวง

คำสำคัญ:

แนวคิดการออกแบบทางหลวงสายหลัก, สมดุลการใช้ความเร็วกับวิถีชุมชน, ความปลอดภัยบนทางหลวง

บทคัดย่อ

กว่าทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาทางหลวงในประเทศไทยส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตต่อชุมชนที่อาศัยอยู่สองฝั่งทาง หรือ เกิดผลกระทบในการไปมาหาสู่ระหว่างชุมชนหรือหมู่บ้านที่อยู่อาศัยอยู่แต่ละฟากฝั่ง กล่าวคือ บนทางหลวงสายหลักที่มีการขยายทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจราจร มุ่งเน้นการให้บริการยานพาหนะเคลื่อนตัวได้รวดเร็ว ส่งผลให้การเข้าถึงพื้นที่ยากลำบากมากขึ้น เนื่องจากการก่อสร้างเกาะกลางเพื่อให้ความปลอดภัยต่อผู้ขับขี่ และกระแสจราจรที่ไหลต่อเนื่องด้วยความเร็วสูง เป็นอุปสรรคทำให้ผู้อาศัยอยู่สองข้างทางไม่ได้รับความสะดวก ดังนั้นการออกแบบหรือพัฒนาทางหลวงที่สร้างสมดุลระหว่าง Mobility และ Accessibility จึงเป็นความท้าทายในยุคปัจจุบัน การออกแบบทางหลวงที่ลงตัวเข้ากันได้กับชุมชน จำเป็นต้องเข้าถึงความต้องการ เข้าใจในวิถีชุมชน และบริการให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะใช้ความเร็วได้โดยอิสระ (Free Flow Speed on Ideal Condition) อย่างต่อเนื่อง โดยยังคงมาตรฐานความปลอดภัย เป็นทางหลวงที่ใช้งานง่ายในทุกฤดูกาล ตามแนวคิดและวิธีการออกแบบ (Conceptual Design) 5 องค์ประกอบ คือ Mobility, Accessibility, Serviceable under flood situation, Safely highways และ Simply driving and riding หรือ เรียกว่า MASSS Highways

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

สุขขี ป. (2023). แนวคิดการออกแบบทางหลวงสายหลักที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับประเทศไทย เพื่อสร้างสมดุลการใช้ความเร็วกับวิถีชีวิตของชุมชนสองฝั่งทางหลวง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL19–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2004