การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดสารตั้งต้นของสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนโดยการใช้ เรซินแลกเปลี่ยนประจุที่มีคุณสมบัติแม่เหล็กและการสร้างและรวมตะกอน

ผู้แต่ง

  • นารีนาฏ รันทม สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศูนย์วิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย (EHSM) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002

คำสำคัญ:

สารอินทรีย์ละลายน้ำ, น้ำผิวดิน, ไตรฮาโลมีเทน, เรซินแลกเปลี่ยนประจุที่มีคุณสมบัติแม่เหล็ก

บทคัดย่อ

คุณภาพน้ำประปาที่สะอาดปลอดภัย เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน การเติมสารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อโรค อาจนำไปสู่ความเสี่ยงในการรับสัมผัสสารพลอยได้จากการฆ่าเชื้อโรค (disinfection by products, DBPs) อันเกิดจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารอินทรีย์ละลายน้ำและคลอรีน งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการกำจัดสารอินทรีย์ละลายน้ำจากน้ำดิบคลองอู่ตะเภา จ. สงขลา วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือ ศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์และการลดศักยภาพการเกิด DBPs กลุ่มไตรฮาโลมีเทน (trihalomethanes, THMs) โดยกระบวนการสร้างและรวมตะกอนด้วยโพลีอะลูมินัมคลอไรด์ เปรียบเทียบกับการบำบัดด้วยเรซินแลกเปลี่ยนประจุที่มีคุณสมบัติแม่เหล็ก (magnetic ion exchange (MIEX) resin) น้ำดิบมีปริมาณสารอินทรีย์คาร์บอนละลายน้ำ (dissolved organic carbon, DOC) เท่ากับ 2.31 mg/L เมื่อเติมคลอรีนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อให้เกิด THMs 349 µg/L เรซิน MIEX มีประสิทธิภาพในการกำจัด DOC มากกว่ากระบวนการสร้างและการรวมตะกอน กล่าวคือ การใช้กระบวนการสร้างและรวมตะกอน สามารถกำจัด DOC ได้ 43% และลดการเกิด THMs ได้ 45% ในขณะที่การบำบัดด้วยเรซิน MIEX สามารถกำจัด DOC ได้ 64% และลดการเกิด THMs ได้ 63% การสร้างและรวมตะกอนลดการเกิดคลอโรฟอร์มได้ดี แต่ส่งผลให้เกิด THMs ที่มีโบรไมด์เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลเพิ่มสูงขึ้น การบำบัดน้ำด้วยเรซิน MIEX สามารถลดการเกิด THMs ทั้งที่มีโบรไมด์และไม่มีโบรไมด์เป็นองค์ประกอบได้ ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมสูงกว่า การบำบัดขั้นต้นด้วยเรซิน MIEX ก่อนการสร้างและรวมตะกอนยังสามารถลดความต้องการสารสร้างแกนตะกอนและความต้องการคลอรีนได้ดี จากผลการวิเคราะห์คุณลักษณะของสารอินทรีย์ด้วยเทคนิคฟลูออเรสเซนต์เอ็กซ์ไซเทชัน-อีมิสชัน เมทริกซ์ บ่งชี้ว่าการสร้างและรวมตะกอนแสดงพฤติกรรมเลือกกำจัดสารอินทรีย์กลุ่มฮิวมิก ในขณะที่เรซิน MIEX สามารถกำจัดสารอินทรีย์กลุ่มฮิว-มิก ฟุลวิค และโปรตีน ได้ดีทุกกลุ่ม

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

รันทม น., & จูฑาพร ป. (2023). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดสารตั้งต้นของสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนโดยการใช้ เรซินแลกเปลี่ยนประจุที่มีคุณสมบัติแม่เหล็กและการสร้างและรวมตะกอน . การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, ENV07–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1988