การออกแบบฐานรากเสาเข็มเจาะโดยใช้มาตรฐานการออกแบบของประเทศจีนในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 (กรุงเทพ-นครราชสีมา) สัญญา 4-3 นวนคร - บ้านโพ

ผู้แต่ง

  • นพฤทธิ์ ทวีชัย China State Construction(Thailand)
  • Zhang Jiu Ming

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบเสาเข็มในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (ระยะที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา) สัญญาช่วงที่ 4-3 นวนคร-บ้านโพ โดยใช้วิธีการอ้างอิงตามมาตรฐาน TB10002-2017 Code for Design on Railway Bridge and Culvert และ TB10093-2017 Code for Design Subsoil and Foundation for Railway Bridge and Culvert ซึ่งเป็นมาตรฐานเฉพาะด้านในการออกแบบโครงสร้างทางรถไฟของประเทศจีนในการออกแบบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มร่วมกับการใช้ข้อมูลดินจากการเจาะสำรวจชั้นดินในบริเวณพื้นที่โครงการก่อสร้างรวมไปถึงการวิเคราะห์และประยุกต์รวมของแรงที่กระทำต่อโครงสร้างตามมาตรฐานและกฎหมายในประเทศไทยได้แก่แรงลมและแรงแผ่นดินไหวของบริเวณพื้นที่ก่อสร้างดังกล่าวเพื่อให้ได้แรงกระทำที่มีนัยสำคัญตามข้อกำหนดของมาตรฐานในการวิเคราะห์หาแรงกระทำทั้งหมดที่กระทำต่อโครงสร้างเพื่อถ่ายลงสู่ฐานรากเสาเข็มได้อย่างปลอดภัย และเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในการเลือกใช้มาตรฐานดังกล่าวข้างต้นในการออกแบบจึงดำเนินการเปรียบเทียบกับหลักการออกแบบที่ใช้ในประเทศไทยโดยใช้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของเสาเข็มเดียวกันกับที่ใช้ออกแบบในโครงการ จากผลการเปรียบเทียบของการออกแบบพบว่ากำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มที่ได้มีค่าใกล้เคียงกัน เมื่อสรุปผลการออกแบบพบความแตกต่างในการใช้งานออกแบบมาจากปัจจัยหลักสองส่วนได้แก่มาตรฐานหรือหลักการที่ใช้ในการวิเคราะห์และค่าสัดส่วนความปลอดภัยในการออกแบบ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

วิธีการอ้างอิง

ทวีชัย น., & Jiu Ming, Z. (2023). การออกแบบฐานรากเสาเข็มเจาะโดยใช้มาตรฐานการออกแบบของประเทศจีนในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 (กรุงเทพ-นครราชสีมา) สัญญา 4-3 นวนคร - บ้านโพ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, GTE10–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/1969