การประเมินประสิทธิภาพของป้ายบอกความเร็วบริเวณโค้งราบ: กรณีศึกษาทางหลวงหมายเลข 107 (แม่ทะลาย - หัวโท)

ผู้แต่ง

  • อิทธินันท์ ใสสุขสอาด ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วินัย รักสุนทร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ป้ายบอกความเร็ว, ความเร็วในการขับขี่, โค้งราบ

บทคัดย่อ

ปัญหาการขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนดเป็นสาเหตุหลักของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งมักจะเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงบ่อยครั้งในบริเวณทาง โค้งราบที่มีรัศมีน้อย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว และมีการเสนอแนะมาตรการต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่ ซึ่งมาตรการแจ้งให้คนขับยานพาหนะทราบถึงความเร็วของการขับขี่ก็เป็นอีกแนวทางที่จะช่วยทำให้ความเร็วของการ ขับขี่ลดลงได้ งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการนำป้ายบอกความเร็วมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการความเร็วและอุบัติเหตุ บนถนนบริเวณทางโค้งราบบนทางหลวงหมายเลข 107 แม่ทะลาย - หัวโท (เชียงใหม่ - เชียงดาว) บริเวณ กม.66+525 โดยศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ความเร็วในการขับขี่ ก่อนและหลังมีการติดตั้งป้ายบอกความเร็วบนทางโค้ง จากการศึกษาพบว่ามาตรการฯ ทำให้ ผู้ขับขี่ใช้ความเร็วในการขับขี่ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และความเร็วเฉลี่ยของยานพาหนะมีแนวโน้มที่ลดลง ร้อยละ 12 และสัดส่วนการใช้ความเร็วเกินอัตราที่กำหนดที่ 50 กม./ชม. มีแนวโน้มที่ลดลงร้อยละ 20 แสดงให้เห็นว่าการติดตั้งป้ายบอกความเร็วช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการความเร็ว ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในบริเวณทางโค้งราบ และในอนาคตควรเพิ่มมาตรการอื่นเพิ่มเติมเพื่อคงประสิทธิภาพไว้ เช่น การบังคับ ใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

ใสสุขสอาด อ., & รักสุนทร ว. (2023). การประเมินประสิทธิภาพของป้ายบอกความเร็วบริเวณโค้งราบ: กรณีศึกษาทางหลวงหมายเลข 107 (แม่ทะลาย - หัวโท). การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL24–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2593