การประยุกต์ใช้ท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟมเพื่อทดแทนเสาคานไม้ไผ่ สำหรับฟาร์มเลี้ยงหอยนางรมแบบลอยทุ่น

ผู้แต่ง

  • ชาตรี งามเสงี่ยม สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ปฤษฎางค์ เพิ่มสุข

คำสำคัญ:

ท่อพีวีซี, ซีเมนต์โฟม, ท่อนรับแรงน้ำหนักเบา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาและประยุกต์ใช้ท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟม เพื่อทดแทนเสา-คานไม้ไผ่ที่ใช้ผูกทุ่นลอยสำหรับการเลี้ยงหอยนางรม ท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟมประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ 1.) ปลอกหุ้มด้านนอกทำจากท่อพีวีซีเกษตรสีเทาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 มม. หนา 2.6 มม. 2.) ซีเมนต์ผสมเม็ดโฟมบรรจุภายใน ซีเมนต์ผสมเม็ดโฟมออกแบบให้มีความหนาแน่น 250 กก./ม.3 และ 500 กก./ม.3 ของคานและเสาตามลำดับ ทำการวิเคราะห์โครงสร้างเสาและคานจากน้ำหนักบรรทุกที่กระทำ พบว่าเสารับความเค้นอัดและคานรับความเค้นดัดสูงสุด 0.06 MPa และ 7.36 MPa ตามลำดับ จากนั้นนำตัวอย่างท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟมที่สร้างขึ้นไปทดสอบแรงอัดและแรงดัดในห้องปฏิบัติการ ผลการทดสอบพบว่า ตัวอย่างเสารับความเค้นอัดเฉลี่ยสูงสุด 3.38 MPa ตัวอย่างคานรับความเค้นดัดสูงสุด 50.61 MPa การประยุกต์ใช้ท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟมเพื่อทดแทนเสา-คานไม้ไผ่ ทำโดยปักเสาลงในน้ำและฝังอยู่ในพื้นดินใต้น้ำ 1.5 เมตร ส่วนคานผูกยึดติดกับเสาแบบหลวมๆโดยให้สามารถขยับขึ้น-ลงตามระดับน้ำได้ จากนั้นใช้คานเป็นตัวยึดราวเชือกเลี้ยงหอยนางรม ทำการเก็บข้อมูลทุกๆ 1 เดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือนตั้งแต่เริ่มเลี้ยงหอยจนเก็บจำหน่ายจากข้อมูล พบว่าท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟมมีลักษณะทางกายภาพที่สมบูรณ์แสดงถึงความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เหมาะสมต่อการใช้งาน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-14

วิธีการอ้างอิง

งามเสงี่ยม ช., & เพิ่มสุข ป. (2023). การประยุกต์ใช้ท่อพีวีซีเสริมซีเมนต์โฟมเพื่อทดแทนเสาคานไม้ไผ่ สำหรับฟาร์มเลี้ยงหอยนางรมแบบลอยทุ่น. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, STR10–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2586