การวิเคราะห์โครงสร้างการตัดสินใจเพื่อหาปัจจัยที่ทำให้รางหักหรือรางร้าว โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย ปัญญาคิด สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย

คำสำคัญ:

สมาคมรถไฟสากล, รางหักหรือรางร้าว, อายุของราง, หมอนรองราง

บทคัดย่อ

องค์ประกอบของโครงสร้างทางที่สำคัญที่สุดนั้น คือ ราง สภาพการชำรุดของรางที่ส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงสุดต่อการเกิดอุบัติเหตุรถตกราง ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านการใช้งาน โดยพบรูปแบบชำรุดของรางหักหรือรางร้าว โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process (AHP) เพื่อวิเคราะห์หาน้ำหนักและจัดลำดับความสำคัญของของปัจจัยที่มีผลทำให้รางหักหรือรางร้าว จากการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านการซ่อมบำรุงรักษาเป็นปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดรางหักหรือรางร้าวมากที่สุดโดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 35.7 รองลงมาอันดับสอง คือ ปัจจัยเนื่องจากการใช้งานมีค่าน้ำหนักความสำคัญ ร้อยละ 30.4 รองลงมาอันดับสาม คือปัจจัยเนื่องจากการออกแบบมีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 18.2 และลำดับสุดท้าย คือปัจจัยภายนอกมีค่าน้ำหนักความสำคัญ ร้อยละ 15.7 และ ค่านํ้าหนักความสำคัญของปัจจัยรองภายใต้ปัจจัยหลักพบว่าปัจจัยรองเนื่องจากการอัดหินโรยทาง (Tamping) ซึ่งอยู่ภายใต้ปัจจัยหลักด้านการซ่อมบำรุงรักษามีค่าน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดร้อยละ 20.9 รองลงมาอันดับสอง คือปัจจัยเนื่องจากน้ำหนักผ่านทางต่อปีและสะสมมีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 17.30 รองลงมาอันดับสามคือปัจจัยเนื่องจากการกำจัดวัชพืชและการทำความสะอาดหินโรยทางมีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 10.10

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

ปัญญาคิด ธ. (2023). การวิเคราะห์โครงสร้างการตัดสินใจเพื่อหาปัจจัยที่ทำให้รางหักหรือรางร้าว โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL67–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2574