ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดรางหักหรือรางร้าวด้วยโค้ดข้อบกพร่องของรางตามมาตรฐาน UIC 712R

  • ธวัชชัย ปัญญาคิด สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย
  • เอนก เนรมิตรครบุรี
คำสำคัญ: สมาคมรถไฟสากล, ทางรถไฟชนิดใช้หินโรยทาง, ข้อบกพร่องของราง, รางหักหรือรางร้าว

บทคัดย่อ

เมื่อระบบโครงสร้างทางรถไฟถูกใช้งานนาน ๆ ประสิทธิภาพของระบบจะค่อย ๆ ลดลงเนื่องจากรางถือว่าเป็นองค์ประกอบของทางรถไฟเป็นส่วนที่จะต้องสัมผัสกับล้อรถโดยตรง จากรายงานสถิติที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดจากรถไฟตกรางส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับจุดชำรุดของรางรถไฟเกือบทั้งสิ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วอุบัติเหตุเหล่านี้สามารถที่จะป้องกันได้หากได้รับการตรวจหาจุดชำรุดของราง อย่างสม่ำเสมอ จากสถิติของทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงชุมทางถนนจิระ-สถานีหนองคาย พบว่าในช่วง ระยะเวลา 10 ปี มีจำนวนรางหักหรือร้าวมาก ถึง 122 ครั้ง โดยส่วนใหญ่เป็นรางหักหรือร้าวด้วยโค้ดข้อบกพร่องตามมาตรฐานสมาคมรถไฟสากล (UIC Code 712R) ผลการให้ค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดรางหักหรือรางร้าวด้วยโค้ดข้อบกพร่องของรางตามมาตรฐานสมาคมรถไฟสากล ผลการศึกษาพบว่ารางหักหรือรางร้าวด้วยโค้ดข้อบกพร่องของรางตามมาตรฐานสมาคมรถไฟสากลมากที่สุดคือโค้ด 200 โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ37.70 รองลงมาอันดับสองคือโค้ด 135 มีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 23.70 รองลงมาอันดับสามคือโค้ด 421 มีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 18 และรองลงมาอันดับสี่ คือโค้ด 1321 ซึ่งเป็นโค้ดข้อบกพร่องของรางที่จะเกิดรางหักหรือรางร้าวด้วยโค้ดนี้น้อยที่สุดมีค่าน้ำหนักความสำคัญร้อยละ 17

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09