การนำเทคโนโลยีตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition: ALPR) มาใช้แทนบัตร Transit Card ในโครงการปรับปรุงระบบเก็บค่าผ่านทาง ทางพิเศษบูรพาวิถี

  • สุมิตร ตุงโสธานนท์ กองบำรุงรักษาอุปกรณ์ ฝ่ายบำรุงรักษา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • วัลลภ ศิลปกุล กองบำรุงรักษาอุปกรณ์ ฝ่ายบำรุงรักษา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • จุไรรัตน์ ปรีชาศิลป์ กองบำรุงรักษาอุปกรณ์ ฝ่ายบำรุงรักษา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • ทักษิณา กรไกร กองวิจัยและพัฒนา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • สันติ ชาติวิวัฒนาการ กองบำรุงรักษาอุปกรณ์ ฝ่ายบำรุงรักษา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
คำสำคัญ: ระบบตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติ (ALPR), Transit card, การเดินทางแบบไร้รอยต่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการนำเทคโนโลยีตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์อัตโนมัติ (Automatic License Plate Recognition: ALPR) มาใช้แทนบัตร Transit Card ในโครงการปรับปรุงระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษแบบเงินสด (MTC) และแบบอัตโนมัติ (ETC) ทั้งในส่วนของช่องทางขาเข้า ณ ด่านต้นทาง และช่องทางขาออก ณ ด่านปลายทาง บนทางพิเศษบูรพาวิถี เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการรับชำระค่าผ่านทางพิเศษตามระยะทางและลดค่าใช้จ่ายในเชิงปฏิบัติการและบำรุงรักษาในอีก 5 ปีถัดไป จากการใช้งบประมาณมากกว่า 214 ล้านบาท เหลือไม่เกิน 25 ล้านบาท ทั้งนี้ยังเพิ่มความสามารถในการรองรับปริมาณจราจรผ่านทางที่เพิ่มขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบริเวณช่องทาง ณ หน้าด่านต้นทาง จากเดิมมากกว่า 600 คัน/ชั่วโมง/ช่องทาง เป็นมากกว่า 1,800 คัน/ชั่วโมง/ช่องทาง และช่องทาง ณ หน้าด่านปลายทาง จากเดิมมากกว่า 300 คัน/ชั่วโมง/ช่องทาง เป็นมากกว่า 450 คัน/ชั่วโมง/ช่องทาง ประกอบกับการรองรับการเดินทางแบบไร้รอยต่อทำให้ลดขั้นตอนการบริหารจัดการการคิดอัตราค่าผ่านทางตามระยะทางร่วมกันได้ระหว่างทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต รวมถึงประโยชน์อื่นๆ ที่จะได้รับในอนาคต เมื่อเปิดให้บริการโครงการปรับปรุงระบบเก็บค่าผ่านทาง ทางพิเศษบูรพาวิถี โดยการใช้เทคโนโลยี ALPR จะสร้างผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าต่อทั้งประชาชนและการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้