การหาค่าระดับด้วยค่าพิกัดภูมิศาสตร์และค่าพิกัดยูทีเอ็ม

  • กนกศักดิ์ ซื่อธานุวงศ์ สาขาวิศวกรรมสำรวจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • วรพันธ์ แก้วพิทยาภรณ์
  • กฤษณา ชูลิตพันธ์พงศ์
คำสำคัญ: แบบจำลองความสูงระดับ, ค่าพิกัดภูมิศาสตร์, ค่าพิกัดยูทีเอ็ม, สมการเส้นตรง, สมการเส้นโค้ง

บทคัดย่อ

การหาค่าระดับด้วยค่าพิกัดภูมิศาสตร์และค่าพิกัดยูทีเอ็ม เป็นการหาค่าระดับบนแบบจำลองหมุดหลักฐานทางดิ่งของกรุงเทพมหานคร(2550) จัดทำโดยสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 879 หมุด ซึ่งหมุดหลักฐานทางดิ่งใช้วิธีการเดินระดับและตำแหน่งทางราบใช้วิธีการรังวัดด้วยดาวเทียมจีพีเอส ข้อมูลหมุดหลักฐานทางดิ่งและตำแหน่งทางราบนำมาสร้างเป็นแบบจำลองค่าระดับความสูงแบบกริด ซึ่งมีจำนวนกริด 49 แถว คูณ 67 หลัก ขนาดของกริด 1000x1000 เมตร ขอบเขตของค่าพิกัดยูทีเอ็มกรุงเทพมหานคร มุมซ้ายล่าง(N1495940.000,E643360.000) มุมขวาบน(N1543940.000,E709360.000) ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ กรุงเทพมหานคร มุมซ้ายล่าง(133134.93312,1002146.656996) และมุมขวาบน (135736.778341,1005610.364321) สมการที่ใช้ในการแปลงค่า พิกัด ระหว่างค่าพิกัดภูมิศาสตร์ กับ ค่าพิกัดยูทีเอ็ม ใช้สมการของ NGS (Nation Geodetic Survey) หรือ Kruger หรือ Snyder หรือ Redfearn สมการที่ใช้ในการหาค่าระดับ ใช้สมการเส้นตรง(Bi-Linear) สมการเส้นโค้งกำลังสอง(Bi-Quadratic) และสมการเส้นโค้งกำลังสาม(Bi-Cubic) โปรแกรมในการประมวลผลใช้ โปรแกรมออโต้แคดซีวิทีดี(AutoCAD Civil 3D) และไมโครซอฟต์เอกซ์เซล(Microsoft Excel) บนชีต และสร้างโปรแกรมฟังก์ชันด้วยวิชวลเบสิกฟอร์แอปพลิเคชันส์ จุดทดสอบในการหาค่าระดับด้วยค่าพิกัดภูมิศาสตร์และค่าพิกัดยูทีเอ็มใช้จุดศูนย์กลาง(Centroid) ของแต่ละเขตในกรุงเทพมหานคร การหาค่าระดับด้วยค่าพิกัดภูมิศาสตร์และค่าพิกัดยูทีเอ็ม สามารถหาค่าระดับได้ทุกตำแหน่งบนพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการป้อนค่าพิกัดภูมิศาสตร์ หรือค่าพิกัดยูทีเอ็ม เข้าไปในแบบจำลองความสูงแบบกริดที่สร้างขึ้น ค่าระดับที่ได้จากค่าพิกัดภูมิศาสตร์และค่าพิกัดยูทีเอ็ม โดยใช้สมการเส้นตรง(Bi-Linear) ให้ความละเอียดถูกต้องเฉลี่ย 0.0300.191 เมตร สมการเส้นโค้งกำลังสอง(Bi-Quadratic) ให้ความละเอียดถูกต้องเฉลี่ย 0.0590.372 เมตร และสมการเส้นโค้งกำลังสาม(Bi-Cubic) ให้ความละเอียดถูกต้องเฉลี่ย 0.0650.392 เมตร

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้