การเก็บเกี่ยวพลังงานโดยใช้ผลเทอร์โมอิเล็กทริกต่อวัสดุผิวทาง

  • ภูมิกิติ ทำเนียบ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • หฤษฎ์ หงษ์ทอง
  • สุรนารถ สุขี
  • จินตหรา ลาวงศเ์กิด
คำสำคัญ: เทอร์โมอิเล็กทริก, แอสฟัลต์, แกรไฟต์, เส้นใยเหล็กปลายตะขอ

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันมีความพยายามในการหาแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อมาแทนที่พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งจากแสงอาทิตย์ น้ำ ลม หรือแหล่งอื่นๆ ซึ่งผลเทอร์โมอีเล็กทริกก็เป็นอีกแหล่งพลังงานที่น่าสนใจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีเทอร์โมอิเล็กทริกต่อวัสดุผิวทาง (แอสฟัลต์) มาเป็นพลังงานทดแทน ในอนาคต และศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติการนำความร้อนของแอสฟัลต์ที่มีวัสดุผสมแตกต่างกัน ซึ่งในการวิจัยนี้ใช้เป็น เส้นใยเหล็กปลายตะขอ (Steel Fiber) และผงแกรไฟต์ (Graphite) ทางคณะผู้วิจัยได้อ้างอิงมาตรฐานงานทางของกรมทางหลวงมาใช้ในการสร้างแบบจำลองผิวทางทำการวิจัยโดยจำลองสภาพแวดล้อมของผิวทางโดยให้ความร้อนเป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมง และหยุดให้พลังงานเป็นเวลา 6 ชั่วโมงเท่ากัน เพื่อจำลอง สภาพแวดล้อมในตอนกลางวันและกลางคืน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลค่าอุณหภูมิ ค่าแรงดันไฟฟ้า และค่ากระแสไฟฟ้า เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าการสร้างพลังงานด้วยเทคโนโลยี เทอร์โมอิเล็กทริกนั้นสามารถเป็นไปได้จริงกับวัสดุผิวทาง (แอสฟัลต์) ซึ่งแบบจำลองผิวทางที่ ทำการผสมด้วยผงแกรไฟต์มีคุณสมบัติด้านการเก็บพลังงานความร้อน (Heat retention)ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ และการเพิ่มเส้นใยเหล็กปลายตะขอจะทำให้การเก็บพลังงานความร้อนเพิ่มขึ้นเช่นกันแต่ยังน้อยกว่าแกรไฟต์เล็กน้อย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09