การศึกษาอัตราการเกิดการเดินทาง ของโครงการอาคารชุดพักอาศัยในพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชนิดา อินทเศียร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สุพรชัย อุทัยนฤมล

คำสำคัญ:

อาคารชุดพักอาศัย, คอนโดมิเนียม, อัตราการเกิดการเดินทาง

บทคัดย่อ

โครงการอาคารชุดพักอาศัย (Condominium) เป็นหนึ่งในรูปแบบการพัฒนาที่ดินที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีการก่อสร้างทั้งในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นหรือย่านศูนย์กลาง(CBD) ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงแตกต่างกันไป การประเมินผลกระทบจากการจราจร (Traffic Impact Assessment) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการวางแผนกำหนดความเป็นไปได้ของผลกระทบโครงการ ต่อโครงข่ายระบบการจราจรได้อย่างถูกต้อง วิศวกรต้องส่งรายงานการประเมินผลกระทบด้านการจราจรให้กับคณะกรรมการผู้ตรวจสอบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการอนุมัติโครงการ เพื่อกำหนดการลดผลกระทบด้านการจราจรของโครงการอย่างสมเหตุสมผล จะมีการรวบรวมข้อมูลการเดินทางจากโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนการพยากรณ์โครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การพยากรณ์หากไม่มีการสร้างตัวแปรที่แม่นยำและเหมาะสม ข้อมูลการจราจรที่สร้างขึ้นจะนำไปสู่มาตรการการจัดการด้านจราจรอย่างไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดปัญหาการจราจรมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีมาตรฐานเกี่ยวกับอัตราการเกิดการเดินทางของโครงการอาคารชุดพักอาศัยในประเทศไทย ตามวัตถุประสงค์ที่นำเสนอ ในการศึกษานี้จะเป็น การวิเคราะห์อัตราการเกิดการเดินทางเฉลี่ยของโครงการอาคารชุดพักอาศัย (Condominium) โดยอยู่ที่ 1.23 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลต่อจำนวนห้องพัก ขาเข้าโครงการอยู่ที่ 0.58 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลต่อจำนวนห้องพัก และขาออกโครงการอยู่ที่ 0.65 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลต่อจำนวนห้องพัก การวิเคราะห์เพื่อศึกษาอัตราการเกิดการเดินทางเชิงทำนายเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนที่จอดรถที่จัดเตรียมร้อยละ 1 จะมีอัตราการเกิดการเดินทางเพิ่มขึ้น 0.94 เที่ยวต่อจำนวนห้องพัก

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

อินทเศียร ช., & อุทัยนฤมล ส. . (2023). การศึกษาอัตราการเกิดการเดินทาง ของโครงการอาคารชุดพักอาศัยในพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL11–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2434