การศึกษาประสิทธิผลการทำงานของคนงานในงานก่อสร้าง กรณีศึกษางานปูกระเบื้อง

  • พรรณพิมล วีระศิลปเลิศ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภัทรพร พรเทพเกษมสันต์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุพิชฌาย์ ทับพุ่ม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธนากร ดอนแก้ว ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สิทธิชัย สงเคราะห์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธัณธร ประสิทธิ์สุวรรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธิดาพร เชื้อสวัสดิ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คำสำคัญ: ประสิทธิผล, ผลิตภาพแรงงาน, งานก่อสร้าง, กิจกรรมปูกระเบื้อง

บทคัดย่อ

การทำงานของกิจกรรมต่างๆ ในงานก่อสร้างต้องอาศัยกำลังของแรงงานเป็นหลักในการให้ได้ผลผลิตออกมา ดังนั้น การประเมินประสิทธิผลการทำงานของแรงงานมีความสำคัญเพื่อใช้ในการวางแผนการทำงาน รวมถึงลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่เกิดงาน และลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นของคนงานให้น้อยลงเพื่อให้ได้ประสิทธิผลในการทำงานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการทำงานในงานก่อสร้าง โดยเลือกกิจกรรมปูกระเบื้องของโครงการหมู่บ้านจัดสรรในจังหวัดชลบุรี ซึ่งแบ่งวิธีการเก็บข้อมูลเป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) การประเมินภาพรวมการทำงานของโครงการด้วยวิธี Field Rating และ (2) การประเมินประสิทธิผลการทำงานของคนงานด้วยวิธี Five Minute Rating ของงานปูกระเบื้อง ข้อมูลของกิจกรรมปูกระเบื้องนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธี Crew Balance Chart เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิผลการทำงานให้ดีขึ้นและการจัดลำดับงานให้เหมาะสม จากผลการเก็บข้อมูลพบว่า ผลการประเมินภาพรวมของโครงการมีค่าเท่ากับ 44.90% ส่วนของกิจกรรมปูกระเบื้องมีค่าประสิทธิผลการทำงาน 74.16% และของผู้ปฏิบัติงานในกิจกรรมปูกระเบื้องจำนวน 3 คน มีค่าเท่ากับ 90% 92.50% และ 40% ข้อมูลการวิเคราะห์และปรับปรุงการทำงานของกิจกรรมปูกระเบื้องด้วยวิธี Crew Balance Chart พบว่าค่าประสิทธิผลการทำงานของกิจกรรมปูกระเบื้องเพิ่มขึ้นจาก 74.16% เป็น 84.90% ซึ่งในการปรับปรุงการทำงานของกิจกรรมปูกระเบื้อง ได้แก่ การปรับวิธีการปฏิบัติงานของคนงานแต่ละคนในกิจกรรมปูกระเบื้องเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการทำงานให้มากขึ้น นอกจากนี้บริเวณโครงการก่อสร้างควรมีการจัดพื้นที่เก็บวัสดุก่อสร้างที่เหมาะสมเพื่อสามารถขนส่งวัสดุจากพื้นที่เก็บไปยังพื้นที่ก่อสร้างได้สะดวก ซึ่งจะทำให้ลดระยะเวลาและระยะทางในการขนส่งวัสดุภายในโครงการ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-08

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้