กำลังแบกทานของดินเหนียวแบบไม่สมนัยแบบสุ่มเชิงพื้นที่ ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์

ผู้แต่ง

  • ก้องตะวัน แสงจินดา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

กำลังต้านแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัย, สนามสุ่ม, ความแปรปรวนเชิงพื้นที่, การจำลองมอนติคาร์โล, วิธีไฟไนต์อิลิเมนต์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอวิธีการสุ่มเชิงพื้นที่ (Random Field) ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์ ใช้เทคนิค Random Adaptive Finite Element Limit Analysis (RAFELA) และการวิเคราะห์ขีดจำกัดบนและขีดจำกัดล่าง (Upper and Lower bound analysis) ของโปรแกรม OPTUM G2 โดยศึกษาอิทธิพลความยาวสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ของกำลังต้านแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัย สัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของกำลังต้านแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัย เงื่อนไขของสภาพชั้นดิน และรูปทรงเรขาคณิต ที่มีผลต่อค่าตัวเลขเสถียรภาพ ความน่าจะเป็นของการวิบัติ อัตราส่วนความปลอดภัย และรูปแบบการวิบัติ ของปัญหาเสถียรภาพของฐานรากตื้นภายใต้เงื่อนไขระนาบความเครียด การศึกษานี้กำหนดให้กำลังต้านแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัยมีรูปแบบการแจกแจงปกติแบบล็อก ซึ่งการวิเคราะห์เสถียรภาพแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ด้วยการกำหนดค่าที่แน่นอน (Deterministic Analysis) ของกำลังต้านแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัย และการสุมค่า (Random) โดยใช้การวิเคราะห์สโตคาสติก (Stochastic Analysis) ประมาณค่าพารามิเตอร์ของตัวแปรสุ่ม (Random Variable) โดยใช้กระบวนการทำวนซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ด้วยวิธีการจำลองมอนตีคาร์โล (Monte Carlo Simulation) ของกำลังต้านแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัย ซึ่งนำผลลัพธ์ที่ได้จากทั้งสองวิธีมาวิเคราะห์หาค่าอัตราส่วนความปลอดภัย (Factor of Safety) ที่ทำให้ความน่าจะเป็นของการวิบัติ (Propability of Failure) มีค่าน้อยกว่า 0.001 นำเสนอค่าอัตราส่วนความปลอดภัยและความน่าจะเป็นของการวิบัติที่เหมาะสมสำหรับปัญหาเสถียรภาพฐานรากตื้น จากการศึกษาพบว่า อิทธิพลความแปรปรวนเชิงพื้นที่ของกำลังต้านทานแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัย ค่าตัวเลขเสถียรภาพจากการสุ่มค่าส่งผลให้ความน่าจะเป็นของการวิบัติสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับค่าตัวเลขเสถียรภาพจากการกำหนดค่าที่แน่นอน นอกจากนี้ยังพบว่า สัมประสิทธิ์ความแปรปรวนกำลังต้านทานแรงเฉือนสภาวะไม่ระบายน้ำในดินไม่สมนัยมีอิทธิพลต่อค่าเสถียรภาพ ความน่าจะเป็นของการวิบัติ อัตราส่วนความปลอดภัย และรูปแบบการวิบัติมากกว่าปัจจัยอื่น ๆ

Downloads

Download data is not yet available.

ประวัติผู้แต่ง

สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรภาพ แก้วสวัสดิ์วงศ์

Assist. Prof. Dr. Suraparb Keawsawasvong
รองหัวหน้าภาคฝ่ายวิชาการและผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษา
การศึกษา :
- Ph.D. (Civil Engineering), Chulalongkorn University, Thailand. - M.Eng. (Civil Engineering), Chulalongkorn University, Thailand.
- B.Eng. (Honors with highest GPA) (Civil Engineering), Thammasat University, Thailand. - Visiting Research Student, Faculty of Applied Sciences, Simon Fraser University, British Columbia, Canada

เรื่องเชี่ยวชาญ
- Geotechnical Stability Analysis - Limit Analysis - Finite Element Analysis - Machine Intelligence in Civil Engineering - Optimization in Civil Engineering - Solid Mechanics (Poroelastic Materials and Nanomaterials)
E-mail : ksurapar@engr.tu.ac.th
Tel : 0-2564-3001-9 ต่อ 3147 Web : https://sites.google.com/site/suraparbkeawsawasvong

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

แสงจินดา ก., & แก้วสวัสดิ์วงศ์ ส. (2023). กำลังแบกทานของดินเหนียวแบบไม่สมนัยแบบสุ่มเชิงพื้นที่ ด้วยวิธีไฟไนต์อิลิเมนต์. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, GTE39–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2309

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##