คุณสมบัติเชิงกลของวัสดุชั้นพื้นทางเดิมปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์ร่วมกับยางอิมัลชัน

  • จักรพงษ์ วงค์คำจันทร์
  • ณัฐวิทย์ เวียงยา
  • สกนธ์ พิทักษ์วินัย
  • ประจักษ์ ทูลกสิกร
  • พิทยุตม์ เจริญพันธุ์
  • นางสาวนูรีฮัน ซา สำนักวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา กรมทางหลวงชนบท
  • กฤษดา เหมือนเนียม
คำสำคัญ: กำลังอัดแกนเดียว, ความต้านทานแรงดึงทางอ้อม, ปูนซีเมนต์, โมดูลัสคืนตัว, ยางอิมัลชัน

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการนำเสนอคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุชั้นพื้นทางเดิมปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์ร่วมกับยางอิมัลชัน ที่กรมทางหลวงชนบทได้ทำการทดลองปรับปรุงคุณภาพวัสดุชั้นพื้นทางเดิมของถนนสาย นม.3038 แยกทางหลวงหมายเลข 201 - บ้านดอนใหญ่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา โดยทำการปรับปรุงวัสดุชั้นพื้นทางเดิม 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 เป็นวัสดุชั้นพื้นทางเดิมที่ไม่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์ กลุ่ม 2 เป็นวัสดุชั้นพื้นทางเดิมที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์มาแล้ว การทดลองปรับปรุงนี้ใช้ปริมาณปูนซีเมนต์คงที่ที่ร้อยละ 4.75 โดยน้ำหนักของวัสดุพื้นทางเดิม ร่วมกับยางอิมัลชันในปริมาณร้อยละ 0, 1 และ 2 โดยน้ำหนักของวัสดุพื้นทางเดิม จากผลการทดลองพบว่าค่ากำลังอัดแกนเดียว (Unconfined Compressive Strength; UCS) มีค่าลดลงแปรผันกับปริมาณยางอิมัลชันที่เพิ่มขึ้น ค่าความต้านทานแรงดึงทางอ้อม (Indirect Tensile Strength; ITS) และค่าโมดูลัสคืนตัว (Resilient Modulus; Mr) มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณยางอิมัลชันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเห็นได้ว่าการปรับปรุงคุณภาพด้วยปูนซีเมนต์ร่วมกับยางอิมัลชันของกลุ่ม 1 มีคุณสมบัติเชิงกลดีกว่ากลุ่ม 2

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-09

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้