ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพการทำงานของพนักงานส่งอาหาร กรณีศึกษาเขตบางซื่อ

ผู้แต่ง

  • เมธัส ศรีคำสุข ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • เทอดศักดิ์ รองวิริยะพานิช ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

สภาพการทำงาน, พนักงานส่งอาหาร, การวิเคราะห์องค์ประกอบ

บทคัดย่อ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ส่งผลกระทบกับหลายธุรกิจ ผู้คนไม่กล้าออกจากบ้าน ธุรกิจร้านอาหารที่เหลือเพียงช่องทางการซื้อกลับและการจัดส่งอาหารไปส่งยังที่พักผ่านแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ โดยมีพนักงานส่งอาหารเป็นตัวกลางระหว่างร้านอาหารและผู้บริโภค พนักงานส่งอาหารต้องทำงานภายใต้สภาพการทำงานที่มีความเสี่ยงและไม่แน่นอน รายได้ของพนักงานส่งอาหารขึ้นอยู่กับจำนวนเที่ยวในการให้บริการส่งอาหาร เพื่อให้ได้รับรายได้ที่มากที่สุดพนักงานส่งอาหารส่วนใหญ่ จึงมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานมากกว่าการทำงานทั่วไป งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพการทำงานของพนักงานส่งอาหาร และเพื่อนำเสนอมาตรการที่จะช่วยเพิ่มสภาพการทำงานที่ดีขึ้นให้แก่พนักงานส่งอาหาร กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานส่งอาหารในเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ด้วยโปรแกรมทางสถิติ (SPSS) ผลการการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อสภาพการทำงานของพนักงานส่งอาหารมีจำนวน 4 องค์ประกอบ เรียงลำดับจากค่าพิสัยของน้ำหนักองค์ประกอบน้อยไปมากได้ดังนี้ 1) จำนวนวันที่ทำงานบริการส่งอาหารต่อสัปดาห์ 2) จำนวนชั่วโมงในการทำงานบริการส่งอาหารต่อวัน 3) จำนวนเที่ยวการให้บริการส่งอาหารต่อวัน และ 4) รายได้จากการทำงานบริการส่งอาหารต่อวัน และผลงานวิจัยนี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ในการนำเสนอมาตรการที่จะช่วยยกระดับสภาพการทำงานของพนักงานส่งอาหาร ได้แก่ มาตรการการประกันค่าแรงขั้นต่ำ, การลาโดยได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยในการเลิกจ้าง และมาตรการการจัดให้มีสถานที่พักคอยระหว่างรอรับงานบริการส่งอาหาร

Downloads

Download data is not yet available.

ประวัติผู้แต่ง

เทอดศักดิ์ รองวิริยะพานิช, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

EDUCATION
  • Ph.D. (Civil Engineering), Yokohama National University, Japan, 2002.
  • M.Eng. (Civil Engineering), Yokohama National University, Japan, 1999.
  • B. Eng. (Civil Engineering), Chulalongkorn University, Thailand, 1996.
RESEARCH
  • Urban Transportation
  • Freight transportation

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

ศรีคำสุข เ., & รองวิริยะพานิช เ. . (2023). ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพการทำงานของพนักงานส่งอาหาร กรณีศึกษาเขตบางซื่อ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL55–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2278