การคัดเลือกมาตรการ Travel Demand Management (TDM) เบื้องต้นที่เหมาะสม สำหรับพื้นที่ปลอดรถหรือจำกัดการเดินรถ

  • ณัฐชุตา ไหลหลั่ง ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ลัดดา ตันวาณิชกุล
คำสำคัญ: พื้นที่ปลอดรถ, พื้นที่จำกัดการเดินรถ, การจัดการความต้องการเดินทาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกมาตรการจัดการความต้องการเดินทาง (Travel demand management, TDM) เบื้องต้นที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาแนวทางมุ่งสู่พื้นที่ปลอดรถ(Car-free zone) และพื้นที่จำกัดการเดินรถ(Car-less zone) ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นปีการศึกษา พ.ศ.2565 แบ่งเป็น 2 พื้นที่ คือ 1)พื้นที่ปลอดรถ ได้แก่ วิทยาลัยนานาชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น 2)พื้นที่จำกัดการเดินรถ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะบริหารและการบัญชี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม(Focus group discussion) จำนวน 18 คน ผลการสนทนากลุ่มครั้งนี้พบว่า มาตรการเชิงบังคับ(Push) ที่ยอมรับได้และควรมีในพื้นที่ศึกษาคือ 1.Traffic calming 2.มาตรการอนุญาตเฉพาะยานพาหนะพลังงานทางเลือกเข้าพื้นที่ 3.มาตรการเก็บค่าที่จอดรถส่วนบุคคล แต่มาตรการเก็บค่าผ่านทางและลดพื้นที่จอดรถส่วนบุคคลมีความคิดเห็นไปในทางยอมรับไม่ได้และคิดว่ายังไม่ควรมีมาตรการนี้ สำหรับมาตรการเชิงโน้มน้าว(Pull) ให้ความเห็นว่าเป็นมาตรการที่ดี ควรมีในพื้นที่ศึกษาและยอมรับได้ทุกมาตรการ และจากการจัดอันดับมาตรการปรับปรุงShuttle bus ด้วยวิธีค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักพบว่านักศึกษาทั้ง 2 พื้นที่ให้ความสำคัญอันดับ 1 ด้านเวลาและความน่าเชื่อถือ อันดับ 2 คือด้านการให้บริการ อันดับ 3 คือด้านกายภาพ และอันดับที่ 4 คือด้านความสะดวกสบาย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2024-01-23