พฤติกรรมการข้ามถนนของผู้สูงอายุบนทางข้ามที่มีสัญญาณไฟแบบนับถอยหลังในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาทางข้ามบนถนน 6 ช่องจราจร ที่มีเกาะกลางถนน

ผู้แต่ง

  • ธาตรี รักมาก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
  • เกษม ชูจารุกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, สัญญาณไฟสำหรับคนข้ามถนนแบบมีชุดนับเวลาถอยหลัง, พฤติกรรมการข้ามถนน, ความเร็วในการเดิน

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนของผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 18.94 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ใกล้เคียงกับนิยามสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ควรมีความพร้อมสำหรับรองรับการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง รวมถึงการข้ามถนน ซึ่งสัญญาณไฟสำหรับคนข้ามถนนแบบมีชุดนับเวลาถอยหลัง ก็เป็นหนึ่งในมาตรการที่ส่งเสริมความปลอดภัยแก่คนเดินเท้า โดยจะแสดงเวลานับถอยหลังให้คนเดินข้าม พร้อมทั้งกำกับให้ยานพาหนะหยุดรอ งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาพฤติกรรมการข้ามถนนของผู้สูงอายุบนถนน 6 ช่องจราจร ที่มีเกาะกลางถนนในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็วในการข้ามของผู้สูงอายุ พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับความเร็วที่ใช้ในการออกแบบสัญญาณไฟในพื้นที่จริง และความเร็วมาตรฐานต่างประเทศ โดยใช้การทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว จากนั้นใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย เพื่อหาความเร็วที่เหมาะสมสำหรับใช้ออกแบบสัญญาณไฟตามสัดส่วนคนข้ามที่เป็นผู้สูงอายุ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นอีกแนวทางสำหรับใช้ออกแบบระยะสัญญาณไฟสำหรับทางข้ามแห่งอื่น ๆ ที่จะให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08

วิธีการอ้างอิง

รักมาก ธ., & ชูจารุกุล เ. (2023). พฤติกรรมการข้ามถนนของผู้สูงอายุบนทางข้ามที่มีสัญญาณไฟแบบนับถอยหลังในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาทางข้ามบนถนน 6 ช่องจราจร ที่มีเกาะกลางถนน. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, TRL36–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2222

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##