ผลของเส้นใยใบสับปะรดต่อประสิทธิภาพการรับแรงดัดและการแพร่คลอไรด์ในคอนกรีต

ผู้แต่ง

  • ธาวิน สังขวิภาพจพิบูล ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • มาโนช สรรพกิจทิพากร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • สิทธิศักดิ์ แจ่มนาม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ปิติ สุคนธสุขกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ศุภฤกษ์ จันทร์ศุภเสน

คำสำคัญ:

คอนกรีตเสริมเส้นใยใบสับปะรด, ประสิทธิภาพการรับแรงดัดของคอนกรีตเสริมเส้นใย, สัมประสิทธิ์การซึมผ่านของคลอไรด์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้านทานการซึมผ่านของคลอไรด์ และคุณสมบัติในการรับกำลังของคอนกรีตเสริมเส้นใยใบสับปะรด โดยใช้ปริมาณเส้นใยใบสับปะรดที่ร้อยละ 0, 0.25, 0.5 และ 1 โดยปริมาตร กำหนดค่ากำลังรับแรงอัดของคอนกรีตปกติที่อายุ 28 วัน เท่ากับ 30 เมกะปาสคาล ทดสอบการซึมผ่านของคลอไรด์และคุณสมบัติเชิงกล หลังจากการบ่มด้วยน้ำที่ 28, 56 และ 90 วัน จากผลการทดสอบ พบว่าการเติมเส้นใยใบสับปะรดในคอนกรีต จะสามารถรับแรงหลังจากเกิดรอยแตกร้าวในคอนกรีตได้ โดยมีพฤติกรรมแบบอ่อนตัวตามระยะการโก่ง (Deflection Softening) และมีค่าความเหนียว (Toughness) เพิ่มขึ้นตามปริมาณการเติมเส้นใย ทำให้คอนกรีตไม่เกิดการวิบัติในทันที อย่างไรก็ตาม เส้นใยใบสับปะรดยังส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ของคลอไรด์เพิ่มขึ้นสูงสุด ความสามารถในการทำงาน ความหนาแน่น และกำลังรับแรงอัดลดลง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-06

วิธีการอ้างอิง

สังขวิภาพจพิบูล ธ., สรรพกิจทิพากร ม., แจ่มนาม ส., สุคนธสุขกุล ป., & จันทร์ศุภเสน ศ. . (2023). ผลของเส้นใยใบสับปะรดต่อประสิทธิภาพการรับแรงดัดและการแพร่คลอไรด์ในคอนกรีต. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, MAT31–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2124