สมบัติของมอร์ตาร์จากปอร์ตแลนด์ซีเมนต์เมื่อเติมน้ำยางข้นที่ปรับปรุงด้วย สารลดแรงตึงผิวโนนิลฟีนอลอีทอกซีเลต

  • รฐนนท์ ภูนาแก้ว สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
  • เจริญชัย ฤทธิรุทธ
คำสำคัญ: สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ, น้ำยางข้น, มอร์ตาร์ซีเมนต์, โนนิลฟีนอลอีทอกซีเลต, กำลังรับแรงอัด, กำลังรับแรงดัด, กำลังรับแรงดึง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ทดสอบกำลังรับแรงอัด, กำลังรับแรงดัด, กำลังรับแรงดึงและความทนทานต่อการขัดสีของซีเมนต์มอร์ตาร์เมื่อเติมน้ำยางข้นที่ปรับปรุงด้วยสารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ Nonyl Phenol Ethoxylate (NPE) โดยใช้อัตราส่วน NPE ร้อยละ 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ ทำการทดสอบตัวอย่างที่อายุ 7 และ 28 วัน ผลการทดสอบพบว่ากำลังรับแรงอัดของมอร์ตาร์มีแนวโน้มลดลงตามร้อยละที่เพิ่มขึ้นของ NPE และกำลังรับแรงดัดของซีเมนต์มอร์ตาร์เมื่อเติมน้ำยางข้นที่ปรับปรุงด้วยสาร NPE จากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 2 ที่อายุบ่ม 28 วัน ทำให้กำลังรับแรงดัดของซีเมนต์มอร์ตาร์มีค่าเพิ่มขึ้นจาก 85.76 กก./ซม.2 เป็น 88.01 กก./ซม.2 และกำลังรับแรงดึงของซีเมนต์มอร์ตาร์มีค่าสูงขึ้นเมื่อเติมน้ำยางข้นที่ปรับปรุงด้วยสาร NPE 2 เปอร์เซ็นต์ ที่อายุบ่ม 28 วัน โดยมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 60.86 กก./ซม.2 เป็น 72.87 กก./ซม.2 และความทนทานต่อการขัดสีพบว่าซีเมนต์มอร์ตาร์ทนต่อการขัดสีเพิ่มขึ้นเมื่อเติมน้ำยางข้นที่ปรับปรุงด้วยสาร NPE ทุกอัตราส่วนผสม สรุปได้ว่าสาร NPE ที่นำมาใช้ในการเตรียมน้ำยางข้นสามารถทำให้น้ำยางข้นมีการกระจายตัวที่ดีและช่วยให้เนื้อยางไม่จับตัวกันเป็นก้อนก่อนที่จะนำไปผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ จากนั้นเนื้อยางที่ผสม NPE จะเข้าไปช่วยทำให้เกิดแผ่นฟิล์มและเส้นใยยางแทรกอยู่ในเนื้อมอร์ต้าร์ เมื่อยางคงรูปแล้วจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับแรงดัดและแรงดึงได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2023-07-06