การศึกษาการดำเนินการจราจรในสถานการณ์ที่มีรถโดยสารสาธารณะไร้คนขับ
คำสำคัญ:
รถโดยสารประจำทาง, รถโดยสารประจำทางไร้คนขับ, ยานยนต์ไร้คนขับบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการจราจรบนถนนในกรณีที่มีการใช้รถโดยสารสาธารณะไร้คนขับ โดยทำการวิเคราะห์สภาพจราจรปัจจุบันและสร้างแบบจำลองเพื่อเปรียบเทียบการจราจรระหว่างสถานการณ์ที่มีและไม่มีรถโดยสารสาธารณะไร้คนขับ โดยเก็บข้อมูลการจราจรบนถนนพหลโยธินฝั่งขาเข้ากรุงเทพมหานคร บริเวณป้ายรถโดยสารประจำทางตรงข้ามสวนจตุจักร แล้วสร้างแบบจำลองโดยใช้พฤติกรรมการขับขี่ตามกันของยานพาหนะทั่วไปในโปรแกรม VISSIM ด้วยพารามิเตอร์ของ Wiedemann 99 และใช้พฤติกรรมการขับขี่ของรถโดยสารสาธารณะไร้คนขับด้วยพารามิเตอร์ของ CoEXist All-knowing ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของสภาพการจราจรหลังเปลี่ยนรถโดยสารสาธารณะเป็นระบบไร้คนขับมีแนวโน้มดีขึ้น Queue Delay ลดลงร้อยละ 24 และความเร็วของยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ในส่วนของรถโดยสารประจำทาง Queue Delay ลดลงร้อยละ 21 และความเร็วของยานพาหนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 และทำให้เวลาในการเดินทางของยานพาหนะบนท้องถนนลดลง โดยส่งผลให้ความล่าช้าจากการหยุดของจราจรโดยรวมลดลงถึงร้อยละ 53 จำนวนครั้งการหยุดโดยเฉลี่ยลดลงร้อยละ 20 และความล่าช้าลดลงร้อยละ 17 ความล่าช้าจากการหยุดของรถโดยสารประจำทางลดลงร้อยละ 50 จำนวนครั้งการหยุดโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และความล่าช้าลดลงร้อยละ 10