การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ และแบบโครงงานในการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการกระจายโมเมนต์
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอน, ห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนแบบร่วมมือ, แบบโครงงานบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ และแบบโครงงาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อน และหลังเรียน ประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการศึกษา ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2/2562 จำนวน 25 คน ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ และแบบโครงงาน แบบฝึกหัด แบบทดสอบ แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา และห้องเรียนออนไลน์ Edpuzzle ผลการวิจัยพบว่า การประเมินความสอดคล้องวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมกับแบบฝึกหัด และแบบทดสอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ 0.87 และแผนการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.67, S.D. = 0.52) ประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนการสอน มีคะแนนเฉลี่ยแบบฝึกหัดคิดเป็นร้อยละ 95 และมีคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบคิดเป็นร้อยละ 84.2 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนในการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีการกระจายโมเมนต์ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.63, S.D. = 0.54)