ผลกระทบของแคลเซียมสเตียเรตที่มีต่อกำลังอัดและการดูดซึมน้ำของมอร์ต้าร์ที่ไม่ชอบน้ำ

  • ศศิธร ดิษเจริญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ทวิช พูลเงิน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์
  • วีรชาติ ตั้งจิรภัทร
คำสำคัญ: แคลเซียมสเตียเรต, กำลังอัด, การดูดซึมน้ำ, มุมผิวสัมผัส, ไม่ชอบน้ำ

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอผลของการใช้แคลเซียมสเตียเรต (CS) ซึ่งเป็นสารผสมเพิ่มกันน้ำที่มีต่อกำลังอัดการดูดซึมน้ำและมุมผิวสัมผัสของมอร์ต้าร์ โดยแปรเปลี่ยนปริมาณ CS ตั้งแต่ร้อยละ 0-15 โดยน้ำหนักของวัสดุประสาน ผลจากการทดสอบพบว่าปริมาณของ CS ที่เพิ่มขึ้นมีผลให้กำลังอัดของมอร์ต้าร์ลดลง โดยการใส่ CS ในปริมาณร้อยละ 5 (CT-CS5) และร้อยละ 15 (CT-CS15) ทำให้กำลังอัดที่อายุ 28 วัน ลดลงร้อยละ 11 และร้อยละ 30 ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับ CT-CS0 ในขณะที่อัตราการดูดซึมน้ำของมอร์ต้าร์ที่มีปริมาณ CS ร้อยละ 9 (CT-CS9) ลดลงถึงร้อยละ 90 เมื่อเปรียบเทียบกับ CT-CS0 นอกจากนี้การวัดมุมผิวสัมผัสของ CT-CS9 ยังชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบน้ำของมอร์ต้าร์อีกด้วยโดยมีมุมผิวสัมผัสมีค่ามากกว่า 90 ํ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-07
สาขาของบทความ
วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้

1 2 > >>