ผลกระทบด้านการจราจรของยานยนต์ไร้คนขับบนถนนในเมืองโดยใช้การจำลอง

  • กีรติ์นุช กีรติศิวกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ผศ. ดร.วศิน เกียรติโกมล
คำสำคัญ: การจำลองจราจรระดับจุลภาค, โปรแกรม PTV VISSIM, ผลด้านการจราจร, ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติหรือยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Vehicle) ซึ่งเป็นรูปแบบยานพาหนะประเภทที่มีการใช้ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ในการควบคุม งานวิจัยนี้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผลกระทบด้านการจราจรบนถนนในเขตเมืองกรณีที่มีการใช้งานยานยนต์ไร้คนขับร่วมกับยานยนต์ประเภทอื่นๆโดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่มีใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยศึกษาช่วงถนนประชาอุทิศ บริเวณทางเชื่อมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และซอยประชาอุทิศ45 ที่อยู่เยื้องกันทั้ง 2 ฝั่งของถนน ซึ่งช่วงถนนดังกล่าวมีการจราจรหนาแน่น ไม่มีการควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจร และมีทางเชื่อมทั้ง 2 ฝั่งอยู่ใกล้กัน ทำให้ช่วงถนนดังกล่าวมีลักษณะการตัดกันของกระแสจราจรคล้ายกับทางแยกเยื้อง (Staggered Intersection) การศึกษานี้ใช้แบบจำลองจราจรระดับจุลภาค PTV VISSIM ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้านการจราจรเพื่อเปรียบเทียบระหว่างสถานการณ์พื้นฐานโดยไม่มียานยนต์ไร้คนขับในกระแสจราจร และสถานการณ์ที่มียานยนต์ไร้คนขับแทนที่ยานยนต์ส่วนบุคคล ผลการศึกษาพบว่าเมื่อมีการใช้งานยานยนต์ไร้คนขับแทนยานยนต์ปกติบนโครงข่ายถนนที่ศึกษาส่งผลกระทบให้การจราจรเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น 21% มีความยาวของแถวคอยที่เกิดขึ้นโดยเฉลี่ยลดลงประมาณ 90% และความล่าช้าจากการเดินทางในโครงข่ายถนนที่ศึกษาน้อยลง 75%

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์