การประเมินคุณภาพของงานเสริมกำลังโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยคาร์บอนไฟเบอร์โดยการใช้คลื่นเรดาร์
คำสำคัญ:
การประเมินคุณภาพ, การเสริมกำลังโครงสร้าง, การหลุดร่อน, คลื่นเรดาร์, คาร์บอนไฟเบอร์บทคัดย่อ
บทความนี้น าเสนอวิธีการประเมินคุณภาพของงานเสริมก าลังเสาโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์โดยการใช้คลื่นเรดาร์ในการตรวจสอบ มีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายลักษณะการหลุดร่อนที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างวัสดุเสริมกำลังและผิวคอนกรีตโครงสร้าง โดยการจำลองลักษณะการหลุดร่อนของงานเสริมกำลังด้วยแผ่นโฟมบาง 4 มิลลิเมตรที่มีขนาดแตกต่างกัน 3 ขนาดสำหรับจำลองลักษณะความเสียหายของระบบเสริมกำลังที่แตกต่างกัน โดยมีขนาด 100x100, 40x40 และ 20x20 มิลลิเมตร ติดตั้งลงบนเสาขนาดหน้าตัด 200x200 มิลลิเมตร สูง 1.0 เมตร เสริมกำลังเสาด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ชนิดแผ่นติดตั้งที่ผิว ดำเนินการทดสอบโดยใช้อุปกรณ์หยั่งความลึกด้วยคลื่นเรดาร์ Hilti-PS 1000 X-Scanner ที่มีความถี่กลางในการรับส่ง
สัญญาณเท่ากับ 2.0 กิกะเฮิรตซ์ ทำการประมวลผลข้อมูลสัญญาณคลื่นเรดาร์จากผลการทดสอบโดยมีการกำหนดค่าคงที่ไดอิเล็กทริกซึ่งเป็นสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าของวัตถุที่เหมาะสม การศึกษาพบข้อจำกัดในการใช้งานคลื่นเรดาร์ในการตรวจจับแผ่นโฟมเนื่องจากความแตกต่างของค่าคงที่ไดอิเล็กทริกระหว่างตัวกลางและแผ่นโฟมที่มีค่าน้อย ส่งผลต่อการพิจารณาลักษณะของแผ่นโฟมที่จำลองการหลุดร่อนของงานซ่อมแซมภายในผลสแกน ประกอบกับคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ที่ส่งผลให้คลื่นเรดาร์ถูกดูดซับและไม่สามารถเคลื่อนทะลุผ่านแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ไปได้ ส่งผลให้การประเมินตำแหน่งและขนาดของการหลุดร่อนในระบบเสริมกำลังด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์ด้วยคลื่นเรดาร์ไม่สามารถตรวจสอบได้
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์