การศึกษาปรากฏการณ์ดินเหลวที่เกิดจากแผ่นดินไหวในจังหวัดเชียงราย พ.ศ.2557

ผู้แต่ง

  • เศรษฐพงศ์ เศรษฐบุปผา ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แผ่นดินไหว, สภาวะดินเหลว, ศักยภาพในการเกิดสภาวะดินเหลว

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาการเกิดปรากฏการณ์ดินเหลวที่มีสาเหตุจากแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ในจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยการสำรวจชั้นดินด้วยการเจาะทะลวงแบบมาตรฐานและการเจาะทะลวงแบบคุนเซลสแต็ป และเก็บตัวอย่างดินไปทดสอบในห้องปฏิบัติการวิศวกรรมธรณีเทคนิค และวิเคราะห์ศักยภาพในการเกิดสภาวะดินเหลวที่บริเวณต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งพบว่าทุกจุดที่เกิดสภาวะดินเหลวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวนั้นมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการได้แก่ 1) เป็นดินที่มีเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นทราย (Sandy soils) ที่อยู่ในสภาพค่อนข้างหลวมมาก หรือหากผ่านตะแกรงเบอร์ 200 มากกว่าร้อยละ 35 จะเป็นดินที่มีดัชนีพลาสติกต่ำ (Low-plasticity silts or clays) ที่มีความชื้นในดินประมาณร้อยละ 90 หรือมากกว่า ของค่าดัชนีพลาสติก 2) ทุกจุดที่เกิดสภาวะดินเหลวจะมีระดับน้ำใต้ดินสูงกว่าชั้นดินดังกล่าวในข้อแรก และ 3) สามารถประเมินได้ว่าชั้นดินที่เกิดสภาวะดินเหลวเหล่านั้นได้ด้วยความเร่งสูงสุดของพื้นดิน 0.20g-0.25g

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20