แนวทางการจัดการของเสียห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโยธา ตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL) : กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

ผู้แต่ง

  • สุพิชชา เมืองพนัส สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • บงกช นิตยคณิต
  • วรมิญช์ พันธุรัตน์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

การจัดการของเสีย, มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย, ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโยธา

บทคัดย่อ

กิจกรรมการเรียนการสอนและการวิจัยของห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโยธา ก่อให้เกิดของเสียประเภทวัสดุก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งต้องมีการบริหาร จัดการ เพื่อความเป็นระเบียบ ปลอดภัย และลดปริมาณของเสีย การสำรวจระบบการจัดการของเสียตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยใน ประเทศไทย (ESPReL) ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินระบบการจัดการของเสียห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย นครพนม พบของเสียประเภทเศษคอนกรีต อิฐ ปูน เหล็ก ยางมะตอย ไม้ และขวดสารเคมี และได้ทำการประเมินในประเด็น การจัดการข้อมูลของเสีย การ เก็บของเสีย การลดการเกิดของเสีย และการบำบัดและกำจัดของเสีย พบว่าไม่มีการจัดการของเสียตามมาตรฐาน ESPReL เป็นส่วนใหญ่ มีเพียงบาง รายการที่เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น การมีพื้นที่/บริเวณจัดเก็บของเสียที่แน่นอน แนวทางการจัดการของเสียได้รับการเสนอแนะตามแนวปฏิบัติ ESPReL และมีวิธีการที่สอดคล้องกับลักษณะสภาพการดำเนินงานและปัจจัยในการจัดการของห้องปฏิบัติการที่ใช้ศึกษา ตัวอย่างการจัดการที่ดีในบางประเด็น สามารถจัดทำเป็นคู่มือการตรวจสอบและจัดการของเสียได้ ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้เพื่อบริหารจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ วิศวกรรมโยธาหรือห้องปฏิบัติการอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

วิธีการอ้างอิง

[1]
เมืองพนัส ส., นิตยคณิต บ., และ พันธุรัตน์ ว., “แนวทางการจัดการของเสียห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโยธา ตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL) : กรณีศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม”, ncce27, ปี 27, น. ENV01–1, ก.ย. 2022.

ฉบับ

บท

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน