คุณสมบัติของแอสฟัลต์คอนกรีตผสมด้วยขยะทะเล

  • ชัยวัฒน์ ใหญ่บก
  • ปิยะพงศ์ สุวรรณโณ
  • ประสาร จิตร์เพ็ชร
คำสำคัญ: แอสฟัลต์คอนกรีต, วัสดุมวลรวม, ขยะทะเล, มาร์แชลล

บทคัดย่อ

ปัญหาขยะทะเลในปัจจุบันได้ส่งผลต่อระบบนิเวศชายฝั่งทางทะเลและมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะขยะจากขวดพลาสติกและเศษแก้ว จึงมีแนวคิด ในการนำขยะมาประยุกต์ใช้กับงานแอสฟัลต์คอนกรีตเพื่อลดปัญหาขยะทะเล โดยได้ออกแบบส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตที่ใช้เฉพาะงาน (Job Mix Formula) ด้วยการนำขวดพลาสติก (P) และเศษแก้ว (G) มาย่อยให้มีขนาดเล็กประมาณ 0.30 มิลลิเมตร เพื่อนำไปแทนที่วัสดุมวลรวมละเอียดที่ค้างบน ตะแกรงเบอร์ 50 ในอัตราส่วนร้อยละ P25:G25, P25:G50, P50:G25 และ P50:G50 ตามลำดับ จึงทำการผสมวัสดุมวลรวมคละขนาดในยุ้งหินร้อน (Hot Bin) อัตราส่วน 40:33:15:12 โดยน้ำหนัก ใช้ปริมาณแอสฟัลต์ซีเมนต์เกรด AC 60-70 ผสมร้อยละ 4.5, 5.0, 5.5, 6.0 และ 6.5 โดยน้ำหนักของวัสดุมวล รวม จากนั้น จัดทำก้อนตัวอย่างในห้องปฏิบัติการและทำการทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรมตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบแอสฟัลต์คอนกรีตด้วยวิธี มาร์แชลล์ของกรมทางหลวง ซึ่งผลการทดสอบพบว่า การแทนที่พลาสติกร้อยละ 25 และเศษแก้วร้อยละ 25 (P25:G25) ทำให้คุณสมบัติของความหนาแน่น ค่าเสถียรภาพ ค่าการไหล ร้อยละของช่องว่างอากาศ ร้อยละของช่องว่างที่ถูกแทนที่ด้วยแอสฟัลต์ (VFA) และร้อยละของช่องว่างมวลรวม (VMA) เป็น อัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดและเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบของกรมทางหลวง รองลงมาคือ อัตราส่วนการแทนที่ P25:G50 เมื่อเปรียบเทียบ กับอัตราส่วนการผสมอื่นๆ โดยอัตราส่วนผสมดังกล่าวสามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกในการลดปริมาณขยะทะเลในงานทางวิศวกรรมได้อีกทางหนึ่งด้วย

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐาน