การประเมินพื้นที่น้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานีด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD

  • ปรียาพร โกษา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ฤกษ์ชัย ศรีวรมาศ
  • ธนัช สุขวิมลเสรี
  • ธนภัทร อุทารสวัสดิ์
คำสำคัญ: แบบจำลอง MIKE FLOOD, น้ำท่วม, ปริมาณน้ำฝน, ปริมาณน้ำท่า, จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

จังหวัดอุบลราชธานีประสบภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2545 และล่าสุดในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ซึ่งมีความรุนแรงของการเกิดน้ำท่วมสูงกว่า พ.ศ. 2545 ระดับแม่น้ำมูลล้นตลิ่งอยู่ที่ 115.88 เมตร รทก. (พ.ศ. 2562) จากระดับ 115.77 เมตร รทก. (พ.ศ. 2545) การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพื้นที่น้ำท่วมจากปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่า ณ คาบการเกิดซ้ำ 10 ปี 20 ปี 50 ปี และ 100 ปี ด้วยแบบจำลอง MIKE FLOOD ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่น้ำท่วมจากปริมาณน้ำท่าเท่ากับ 487.59  696.55  837.63 และ 944.57 ตารางกิโลเมตร ณ คาบการเกิดซ้ำ 10 ปี 20 ปี 50 และ 100 ปี ตามลำดับ มีพื้นที่น้ำท่วมตั้งแต่บริเวณท้ายเขื่อนราษีไศลจนถึงเขื่อนปากมูล รวมถึงแม่น้ำชี และลำน้ำสาขาที่ไหลเข้าแม่น้ำมูล โดยน้ำท่วมหนักบริเวณอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และ อำเภอเขื่องใน อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับพื้นที่น้ำท่วมจากปริมาณน้ำฝนเท่ากับ 206.03  214.54  228.31 และ 259.76 ตารางกิโลเมตร ณ คาบการเกิดซ้ำ 10 ปี 20 ปี 50 และ 100 ปี ตามลำดับ น้ำท่าจากฝนที่ตกในพื้นที่ศึกษามิใช่สาเหตุหลักในการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ศึกษา เพราะพื้นที่น้ำท่วมเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในแต่ละคาบการเกิดซ้ำ ทั้งนี้ น้ำท่าทางต้นน้ำที่เกิดจากฝนในพื้นที่ต้นน้ำนอกพื้นที่ศึกษา (จ.อุบลฯ) มีปริมาณน้ำมากกว่าน้ำท่าจากฝนที่ตกในลุ่มน้ำภายในจังหวัดอยู่มาก จึงส่งผลให้พื้นที่น้ำท่วมในกรณีแรกเกิดพื้นที่น้ำท่วมมากกว่า จึงกล่าวได้ว่าปริมาณน้ำท่าจากพื้นที่เหนือน้ำเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในจังหวัดอุบลราชธานี

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมแหล่งน้ำ

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้