การจำลองสภาพน้ำท่วมแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2562 ด้วยแบบจำลอง Infoworks-ICM กรณีศึกษาอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ถึงปากแม่น้ำมูล
คำสำคัญ:
อุทกภัย, แม่น้ำมูล, จังหวัดอุบลราชธานี, แบบจำลองคณิตศาสตร์ Infoworks-ICMบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการจำลองสภาพน้ำท่วมของแม่น้ำมูล กรณีศึกษาแม่น้ำมูลจากอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีถึงปากแม่น้ำมูล อันเนื่องมาจากการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2562 โดยทำการจำลองด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ Infoworks-ICM โดยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัจจัยข้อมูลที่เป็นพื้นฐานการศึกษา ได้แก่ข้อมูลทางอุตุ-อุทกวิทยา ลักษณะกายภาพของพื้นที่และลำน้ำ ตามระเบียบวิธีการดำเนินการของแบบจำลอง ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้ดำเนินการคำนวณและสังเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้นำเข้าและปรับเทียบแบบจำลองในสภาพการไหลพื้นฐาน และทำการจำลองสภาพน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2562 จากการศึกษาพบว่า มีหลายมูลเหตุปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดอุทกภัย ได้แก่ ความต่อเนื่องของการเกิดพายุหลายลูกสะสมต่อเนื่องกันของลุ่มน้ำชีซึ่งอยู่ด้านเหนือน้ำก่อนที่จะไหลลงสู่พื้นที่ศึกษา รูปร่างและกายภาพขนาดหน้าตัดของลำน้ำมูลตลอดความยาว และการมีสันดอนเกาะแก่งที่กีดขวางการไหลออกของน้ำ และระดับของลำน้ำโขงที่อัดเอ่อเท้อกลับทางด้านท้ายน้ำเป็นต้น ระเบียบวิธีการจำลองสภาพเป็นการศึกษาการไหลแบบหนึ่งมิติ โดยข้อมูลนำเข้าประกอบด้วย ข้อมูลรูปตัดของลำน้ำจำนวน 65 หน้าตัด รวมระยะทางที่ศึกษาตามลำน้ำประมาณ 90 กิโลเมตร และแบบจำลองภูมิประเทศของลุ่มน้ำที่สร้างขึ้นมาจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยมีชลภาพอัตราการไหลที่สถานีเหนือน้ำ และชลภาพระดับน้ำที่สถานีท้ายน้ำของช่วงลำน้ำที่พิจารณาเป็นสภาพขอบเขตด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำตามลำดับ ใช้สมการที่อยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลกับขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำในการสังเคราะห์ข้อมูลปริมาณการไหลบริเวณปากลำน้ำสาขาและใช้เป็นข้อมูลการไหลเข้าด้านข้างให้กับแบบจำลอง (Side flow) ผลการศึกษาที่ได้จากการจำลอง ทำให้ทราบถึงชลภาพระดับน้ำ และขอบเขตของพื้นที่น้ำท่วมซึ่งสามารถใช้เป็นตัวแทนการศึกษาสภาพน้ำท่วมในปี พ.ศ.2562 และแบบจำลองยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการลำน้ำมูลในช่วงพื้นที่ศึกษาได้เป็นอย่างดี
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์