การประมาณช่องว่างวิกฤตสำหรับการกลับรถที่จุดกลับรถบริเวณเกาะกลาง

  • วลัยรัตน์ บุญไทย
  • ชยันต์วุฒิ ปิติยอดจิตร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • กฤตนัย ปัญญากาญจน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ปฏิภาณ กันตะศรี
  • พรเทพ พวงประโคน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
คำสำคัญ: ช่องว่าง, ช่องว่างวิกฤติ, การยอมรับช่องว่าง, กลับรถ, เกาะกลาง

บทคัดย่อ

ช่องว่างวิกฤตในการกลับรถเป็นตัวแปรสำคัญทางด้านวิศวกรรมจราจร และเป็นข้อมูลที่ใช้ออกแบบจุดกลับรถให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย การออกแบบจุดกลับรถโดยใช้ข้อมูลการยอมรับช่องว่างของผู้ขับขี่ที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดการจราจรติดขัดและก่อให้เกิดอุบัติเหตุจราจรบริเวณจุดกลับรถได้ บทความนี้ทำการศึกษาการประมาณค่าช่องว่างวิกฤตของจุดกลับรถแบบไม่มีสัญญาณไฟจราจรที่เกาะกลางในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 แห่ง ซึ่งเป็นจุดกลับรถที่มีรูปแบบแตกต่างกัน โดยทำการเก็บข้อมูลรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ในชั่วโมงเร่งด่วนและนอกชั่วโมงเร่งด่วนอย่างละ 2 ชั่วโมง และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบช่องว่างวิกฤตจากการประมาณด้วยวิธีการต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่าช่องว่างวิกฤตจากการคำนวณด้วยวิธีการของ Raff, Greenshield, Acceptance Curve Method และ วิธี Maximum Likelihood มีค่าระหว่าง 3.24-5.39, 4.75-6.75, 6.75-9.30 และ 4.29-6.69 วินาที ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความคงที่ในการประมาณพบว่าวิธี Maximum Likelihood เป็นวิธีที่เหมาะสมในการประยุกต์ใช้เนื่องจากให้ค่าประมาณช่องว่างวิกฤตคงที่กว่าวิธีอื่น ๆ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าเมื่อปริมาณจราจรในกระแสทางตรงเพิ่มขึ้นค่าช่องว่างวิกฤตในการกลับรถจากการคำนวณด้วยวิธีต่าง ๆ มีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้พบว่าช่องว่างวิกฤตของจุดกลับรถที่มีรูปแบบแตกต่างกันมีค่าต่างกัน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้