การศึกษาการยอมรับช่องว่างของคนเดินเท้าที่ทางข้ามภายในช่วงถนนแบบไม่มีสัญญาณไฟคนข้าม

ผู้แต่ง

  • พรเทพ พวงประโคน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • กฤษณ เวฬุดิตถ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ปานเทพ เตชารัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • เกียรติศักดิ์ แซมทอง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • พีระวัฒน์ มโนเจริญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

คำสำคัญ:

คนเดินเท้า, ทางม้าลาย, ทางข้าม, การยอมรับช่องว่าง, ช่องว่างที่ถูกยอมรับ

บทคัดย่อ

คนเดินเท้าเป็นองค์ประกอบที่มีความเปราะบางในระบบจราจร เนื่องจากคนเดินเท้าไม่มีอุปกรณ์ป้องกันส่วนตัวในการลดความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรที่อาจเกิดขึ้น จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงมากกว่าคนกลุ่มอื่นที่ใช้พื้นที่ถนน บทความนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมการยอมรับช่องว่างในการข้ามถนนของคนเดินเท้า ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเพื่อให้สามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย โดยเก็บข้อมูลพฤติกรรมการข้ามแบบจังหวะเดียว (one-stage crossing) บนทางข้ามที่อยู่ภายในช่วงถนนและไม่มีสัญญาณไฟคนข้ามจำนวน 6 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร พบข้อมูลการข้ามถนนทั้งสิ้น 1,275 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่าการยอมรับช่องว่างเฉลี่ยของผู้ข้ามที่มีเพศชายและเพศหญิงเท่ากับ 6.12 และ 6.24 วินาที วัยรุ่น วัยทำงาน และสูงอายุเท่ากับ 6.03, 6.18 และ 6.33 วินาที การข้ามแบบเดี่ยวและกลุ่มเท่ากับ 6.17 และ 6.81 วินาที การข้ามในและนอกชั่วโมงเร่งด่วนเท่ากับ 6.72 และ 5.78 วินาที ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ได้นำเสนอข้อมูลช่องว่างวิกฤตจากการประมาณโดยวิธีการของ Raff ตามสถานการณ์ต่างๆ พบว่าช่องว่างวิกฤตของคนเดินเท้าในการข้ามถนนมีค่าระหว่าง 3.73 ถึง 5.75 วินาที โดยผลจากการศึกษานี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลอ้างอิงประกอบการปรับปรุงและออกแบบทางข้ามให้มีความปลอดภัยต่อคนเดินเท้าได้ต่อไป

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
พวงประโคน พ., เวฬุดิตถ์ ก. ., เตชารัตน์ ป. ., แซมทอง เ. ., และ มโนเจริญ พ. ., “การศึกษาการยอมรับช่องว่างของคนเดินเท้าที่ทางข้ามภายในช่วงถนนแบบไม่มีสัญญาณไฟคนข้าม”, ncce27, ปี 27, น. TRL24–1, ก.ย. 2022.

ฉบับ

บท

วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##