การพัฒนาฐานข้อมูลดินประเทศไทยสำหรับแบบจำลอง SWAT

ผู้แต่ง

  • ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
  • พีรวัฒน์ ปลาเงิน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ณัฐพงศ์ ผัดแก้ว สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
  • นุชฎาภรณ์ ณ เชียงใหม่ สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
  • สิทธิชัย แหล่งป่าหมุ้น สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

คำสำคัญ:

แบบจำลองลุ่มน้ำ, ฐานข้อมูลดินไทย, ปริมาณน้ำท่า, แม่แจ่ม, ห้วยหลวง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการจัดทำฐานข้อมูลดินที่สำรวจในประเทศไทย สำหรับแบบจำลอง SWAT โดยใช้ลุ่มน้ำแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน จ.อุดรธานี เป็นพื้นที่ทดสอบ โดยเลือกฐานข้อมูลคุณสมบัติดินจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มาทำการเปรียบเทียบผลการคำนวณปริมาณน้ำท่ารายวันและรายเดือน เพื่อทดสอบความน่าเชื่อถือของฐานข้อมูลดินไทยที่ได้จัดทำขึ้น ผลการทดสอบพบว่า การใช้ฐานข้อมูลดินไทยและ FAO ให้รูปแบบกราฟน้ำท่ามีความใกล้เคียงกัน โดยการใช้คุณสมบัติดินจาก FAO ให้ผลการคำนวณที่ถูกต้องน่าเชื่อถือกว่าดินไทยเล็กน้อย เนื่องจากคุณสมบัติดินไทยบางตัวแปรไม่มีการจัดเก็บ จึงต้องทำการประมาณค่าโดยใช้ความสัมพันธ์กับตัวแปรพื้นฐานอื่นๆ แทน อีกทั้งในบริเวณพื้นที่ลาดชันมาก ยังไม่มีการสำรวจข้อมูล จึงต้องใช้คุณสมบัติดินในบริเวณใกล้เคียงแทน ดังนั้นหากมีการทดสอบคุณสมบัติดินเพิ่มเติมและสำรวจข้อมูลในพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก ก็จะทำให้การใช้ฐานข้อมูลดินในประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยฐานข้อมูลดินไทยที่จัดทำขึ้น ได้เผยแพร่ออนไลน์ จัดเก็บในรูปแบบไฟล์ Microsoft Excel ชื่อ ThaiSoilSeriesSWAT.xlsx เพื่อให้ผู้ใช้แบบจำลอง SWAT สามารถดาวน์โหลดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างรวดเร็วจาก  https://engineering.rmutl.ac.th/civil/page/swat-thai-database/

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19