การหาค่าการซึมได้ของน้ำในพื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพด้วยอุปกรณ์วัดอัตราการซึมน้ำแบบถังกลมคู่
คำสำคัญ:
พื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพ, อุปกรณ์วัดอัตราการซึมน้ำแบบถังกลมคู่, ค่าอัตราการไหลซึมบทคัดย่อ
การพัฒนาที่ดินที่เพิ่มมากขึ้นทำให้พื้นผิวพรุนน้ำตามธรรมชาติลดลงส่งผลต่อการเกิดปัญหาน้ำท่วมขังหรือน้ำไหลนองในพื้นที่เขตเมืองเกิดขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการออกแบบพื้นที่ว่างเพื่อเพิ่มศักยภาพในการลดการไหลนอง โดยการเพิ่มการซึมได้ของน้ำลงไปในชั้นดิน พื้นที่ลักษณะนี้จะเรียกว่าพื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพ อย่างไรก็ตามเพื่อให้สามารถวัดค่าความสามารถในการซึมได้ของพื้นที่ดังกล่าวจึงมีความจำเป็นจะต้องหาวิธีการทดลองในสนาม ซึ่งจากการสืบค้นเบื้องต้นพบว่าเคยมีการประยุกต์ใช้อุปกรณ์วัดอัตราการซึมน้ำแบบถังกลมคู่เพื่อวัดการซึมได้ของดินทางการเกษตร ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเป็นการทดลองใช้อุปกรณ์วัดอัตราการซึมน้ำแบบถังกลมคู่มาทดสอบความสามารถในการรองรับน้ำฝนของพื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพในภาคสนาม โดยผลการศึกษาพบว่าจากการเก็บข้อมูลอัตราการซึมพื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ทั้งสิ้น 4 ครั้งแตกต่างกันใน 4 เดือน ได้แก่เดือน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคมเละกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลตามความสะดวกแบบสุ่ม จากการศึกษาพบว่า ได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่ม คือเดือนตุลาคมและเดือนกุมภาพันธ์มีค่าเฉลี่ยของอัตราการซึมอยู่ที่ 8.00 มิลลิเมตรต่อชั่วโมงมีพฤติกรรมเหมือนดินทรายและกลุ่มที่ 2 คือเดือนพฤศจิกายนเละเดือนธันวาคมมีค่าเฉลี่ยของอัตราการซึมอยู่ที่ 30.6 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง มีพฤติกรรมเหมือนดินร่วนปนดินเหนียว ผลการศึกษาในครั้งนี้นอกจากสามารถคำนวณค่าอัตราการซึมได้แล้วยังพิสูจน์ว่าสามารถใช้อุปกรณ์วัดอัตราการซึมน้ำแบบถังกลมคู่มาประยุกต์ใช้ในการหาประสิทธิภาพของการออกแบบพื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพได้ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการสนับสนุนการออกแบบพื้นที่รับน้ำแบบชีวภาพเพื่อช่วยลดปัญหาการเกิดน้ำท่วมในเขตเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์