การประยุกต์ใช้วงเวียนระดับดินเพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวง กรณีศึกษา: ทางหลวงหมายเลข 34 แยกคลองอ้อม จ.ฉะเชิงเทรา, ทางหลวงหมายเลข 3 แยกหนองแฟบและแยกปตท. จ.ระยอง และ ทางหลวงหมายเลข 3 แยกเจ จ.ชลบุรี
บทคัดย่อ
กรมทางหลวงได้ว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษา บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อสำรวจ ออกแบบ ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาการจราจรบนจุดตัดจำนวน 3 จุด ได้แก่ 1) จุดตัดทางหลวงหมายเลข 34 กับทางหลวงหมายเลข 314 บริเวณแยกคลองอ้อม จ.ฉะเชิงเทรา 2) จุดตัดระหว่างบริเวณแยกหนองแฟบและแยกปตท. บนทางหลวงหมายเลข 3 จ.ระยอง และ 3) จุดตัดทางหลวงหมายเลข 3 กับจุดเริ่มต้นทางหลวงหมายเลข 332 บริเวณแยกเจ จ.ชลบุรี โดยทางผู้เขียนได้เสนอวิธีแก้ไขปัญหาโดยออกแบบจุดตัดทั้ง 3 จุด เป็นรูปแบบทางแยกต่างระดับและวงเวียนระดับดิน และได้กำหนดปัจจัยในการคัดเลือกรูปแบบทางแยกจำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.ปัจจัยด้านวิศวกรรมและจราจร 2.ปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน และ 3.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการคัดเลือกได้ข้อสรุปว่าทางแยกรูปแบบวงเวียนระดับดินของทั้ง 3 จุดเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ทำให้ประสิทธิภาพในการเดินทางเพิ่มขึ้น
Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์