การพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดนครพนม ณ สถานีโครงการน้ำก่ำตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • ทิพาภรณ์ หอมดี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • วชิรกรณ์ เสนาวัง มหาวิทยาลัยนครพนม
  • พงฬ์นธี มณีกุล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ธิปธราดล แผงนาวิน สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ภากร ครุฑแสงอนันต์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์, ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกําลังสองเฉลี่ย, วิธีการของบอกซ์-เจนกินส์, วิธีการทำให้เรียบ แบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีฤดูกาลอย่างง่าย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดนครพนมที่เก็บจากสถานีสำรวจปริมาณน้ำฝนรายเดือนของโครงการน้ำก่ำตอนล่าง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนและเปรียบเทียบค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์เชิงสถิติ 2 วิธี ได้แก่ วิธีของบอกซ์-เจนกินส์ และวิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีฤดูกาลอย่างง่าย โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (Mean Absolute Percent Error: MAPE) และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกําลังสองเฉลี่ย (Root Mean Square Error: RMSE) ที่มีค่าต่ำที่สุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ถึงปี พ.ศ. 2561 จากนั้นพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนล่วงหน้าในปี พ.ศ. 2562 โดยสร้างตัวแบบพยากรณ์จำนวน 10 ปี นำมาใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาเปรียบเทียบตัวแบบการพยากรณ์ ผลการศึกษาพบว่าการพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนตามวิธีของบอกซ์-เจนกินส์ มีความเหมาะสมมากกว่าวิธีการทำให้เรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลที่มีฤดูกาลอย่างง่าย โดยมีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) และค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกําลังสองเฉลี่ย (RMSE) มีค่าต่ำที่สุด จากการพยากรณ์ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2562

Downloads

Download data is not yet available.

ประวัติผู้แต่ง

ทิพาภรณ์ หอมดี, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

อาจารย์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

พงฬ์นธี มณีกุล, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

อาจารย์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

ธิปธราดล แผงนาวิน, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

นักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

ภากร ครุฑแสงอนันต์, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

นักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##