การเตือนภัยน้ำหลากด้วยวิธีดัชนีน้ำฝนในลุ่มน้ำห้วยชะโนด

  • อนันต์ นนท์ศิริ สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • วชิรกรณ์ เสนาวัง มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ทิพาภรณ์ หอมดี สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
คำสำคัญ: ลุ่มน้ำห้วยชะโนด, ค่าดัชนีน้ำฝน, การเตือนภัยน้ำหลาก

บทคัดย่อ

ลุ่มน้ำห้วยชะโนดตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลำห้วยชะโนดเป็นลำน้ำสายหลักซึ่งมีความลาดชันลำน้ำค่อนข้างสูงในช่วงต้นน้ำและความลาดชันลดลงก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง ณ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ลักษณะการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยชะโนดจึงเป็นลักษณะน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ต้นน้ำและเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น โดยมีพื้นที่บ้านแดนสวรรค์   ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนมและบริเวณใกล้เคียงเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจสำคัญแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำห้วยชะโนดซึ่งได้รับผลกระทบจากอุทกภัยบ่อยครั้ง จากเหตุการณ์อุทกภัยในอดีตพบว่าเกิดความเสียหายจากน้ำท่วมอย่างสูงเนื่องจากไม่สามารถเตือนภัยและอพยพไม่ทัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการเตือนภัยน้ำหลากโดยใช้ค่าดัชนีน้ำฝน (Antecedent Precipitation Index, API) ซึ่งเป็นค่าดัชนีที่ใช้ชี้วัดปริมาณความชื้นในดินสะสม เป็นผลที่เกิดจากการสะสมของปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา หากค่าดัชนีน้ำฝน (API) มีค่าสูงขึ้น โอกาสการเกิดอุทกภัยจะสูงขึ้นด้วย ในการศึกษาครั้งนี้ได้คำนวณฝนสะสมรายวันแล้วแปลงให้อยู่ในรูปของค่าดัชนีน้ำฝน โดยใช้ข้อมูลน้ำฝนรายวันจากสถานีวัดน้ำฝนจำนวน 1 สถานี ได้แก่ สถานีวัดน้ำฝน 240220 ช่วงปี พ.ศ.2541 ถึง พ.ศ.2561 มาทำการคำนวณเพื่อใช้สำหรับการเตือนภัยน้ำหลาก เละใช้สถานีวัดน้ำบ้านคอนสวรรค์ Kh.91 เป็นสถานีพยากรณ์ จากการศึกษาพบว่าเมื่อมีปริมาณฝนตกในลุ่มน้ำห้วยชะโนดเหนือสถานีวัดน้ำบ้านคอนสวรรค์ Kh.91 ฝนตกติดต่อกัน 3 วัน มากกว่า 150 มม. และค่าดัชนีน้ำฝน (API) มีค่าเท่ากับ 150 มม. จะทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่บ้านแดนสวรรค์ ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการเตือนภัยน้ำหลากเข้าเขตพื้นที่บ้านแดนสวรรค์ได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

ประวัติผู้แต่ง

อนันต์ นนท์ศิริ, สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์, ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ทิพาภรณ์ หอมดี, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมแหล่งน้ำ

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้