คุณสมบัติเชิงกล โครงสร้างจุลภาค ของคอนกรีตที่มีส่วนผสมของนาโนซิลิกาและแร่ใยธรรมชาติ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติคอนกรีตมวลรวมรีไซเคิล
คำสำคัญ:
คอนกรีตมวลรวมรีไซเคิล, นาโนซิลิกา, แร่ใยธรรมชาติบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาคุณสมบัติเชิงกล และโครงสร้างจุลภาคของคอนกรีตมวลรวมรีไซเคิลโดยใช้นาโนซิลิการ่วมกับแร่ใยธรรมชาติใยป่าน ศรนารายณ์และใยปาล์มน้ำมันทดแทนมวลรวมละเอียด หินรีไซเคิลทดแทนมวลรวมตามธรรมชาติและใช้นาโนซิลิกาในการแทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 กำหนดอัตราส่วนของน้ำต่อวัสดุประสาน เท่ากับ 0.60 โดยน้ำหนัก จากผลการทดสอบกำลังอัดและกำลังรับแรงดัด ที่อายุ 7 วัน และ 28 วัน พบว่าคอนกรีตที่มีส่วนผสมของนาโนซิลิกาและมวลรวมตามธรรมชาติมีค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด เท่ากับ 201.80 ksc ที่อายุ 7 วัน และ 308.25 ksc ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่ากำลังรับแรงดัดพบว่าคอนกรีตที่มีส่วนผสมของมวลรวมรีไซเคิลและใยปาล์มน้ำมันมีค่าสูงสุด เท่ากับ 45.90 ksc ส่วนผลของโครงสร้าง จุลภาคของคอนกรีตมวลรวมรีไซเคิลด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) พบว่าคอนกรีตที่มีส่วนผสมของแร่ใยธรรมชาติจะไม่ค่อยเป็นเนื้อ เดียวกันและมีช่องว่างเกิดขึ้น สอดคล้องกับผลกำลังอัด
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์