การจัดลำดับความสำคัญของโครงการซ่อมบำรุงทาง โดยวิธี Super-Efficiency DEA
คำสำคัญ:
การซ่อมบำรุงทาง, การจัดลำดับความสำคัญ, วิธีโอบล้อมข้อมูลบทคัดย่อ
การซ่อมบำรุงรักษาทางเป็นกิจกรรมสำคัญที่ทำเป็นประจำและตามช่วงเวลาที่ออกแบบไว้เพื่อรักษาสภาพทางให้มีความใกล้เคียงกับตอนก่อสร้างเสร็จสืบเนื่องจากโครงการซ่อมบำรุงทางหลวงชนบทมีจำนวนมาก การพิจารณาการจัดลำดับความสำคัญของสายทางจึงเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ งานศึกษานี้นำวิธีโอบล้อมข้อมูล (Data Envelopment Analysis, DEA) ด้วยการคำนวณหาค่าประสิทธิภาพซุปเปอร์ (Super Efficiency) มาประยุกต์ใช้ในการจัดลำดับความสำคัญของสายทางในการซ่อมบำรุงทางหลวงชนบท โดยปัจจัยนำเข้า (Input) และปัจจัยผลผลิต (Output) พิจารณาจากข้อมูลด้านวิศวกรรม สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม จากกรณีศึกษาโครงการซ่อมบำรุงทางหลวงชนบทในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่า ผลการวิเคราะห์จะให้ค่าคะแนนในการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละสายทาง ซึ่งสายทางที่มีปริมาณจราจรที่ใช้ในเส้นทางค่อนข้างสูง มีสถานที่สำคัญในสายทางจำนวนมาก อายุการใช้งานมาก ค่าการแอ่นตัวสูง ค่าดัชนีความเรียบขรุขระสากลสูง และค่าดัชนีความเสียหายสูง ซึ่งหมายถึงสายทางมีความเสียหาย ส่งผลให้สายทางได้รับค่าคะแนนการจัดลำดับความสำคัญสูง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์