การวิเคราะห์คุณลักษณะการเดินบริเวณโถงทางเดินภายในสถานีรถไฟฟ้าเตาปูนจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด

ผู้แต่ง

  • เสถียร แก้วคำ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทรงยศ กิจธรรมเกษร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร, ทฤษฎีการไหลของกระแสจราจรคนเดินเท้า, คอมพิวเตอร์วิทัศน์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าคุณลักษณะการเดินและ วิเคราะห์ ปรับเทียบค่าพารามิเตอร์ของตัวแปรพื้นฐานการไหลของกระแสจราจรคน เดินเท้า เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกทางเดินภายในสถานีรถไฟฟ้า เก็บข้อมูลด้วยการบันทึกวิดีโอด้วยกล้องวงจรปิด (CCTV) และพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision) เพื่อช่วยในการสกัดข้อมูลจากวิดีโอมาคำนวณ ปรับเทียบค่าพารามิเตอร์โดยใช้แบบจำลองความสัมพันธ์ตัวแปรพื้นฐานทฤษฎีการไหลของกระแสจราจรคนเดินเท้าต่าง ๆ จากการศึกษาความสัมพันธ์ตัวแปรพื้นฐานการไหลของกระแสจราจรคนเดินปรับเทียบค่าพารามิเตอร์กับข้อมูลในพื้นที่การศึกษาแล้วพบว่า มีความเร็วในการเดินเฉลี่ย 1.50 เมตร/วินาที และ แบบจำลองของUnderwood มีแนวโน้มการกระจายตัวและความถูกต้องสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ศึกษาดีที่สุดโดยความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วและความหนาแน่นมี
ค่าท2 R = 0.944ได้สมการความสัมพันธ์ดังนี้ ความเร็วและความหนาแน่น v=1.9 e=- k/0.36, อัตราการไหลและความเร็ว
q = − 0.36v (ln1.9- lnv ), อัตราการไหลและความหนาแน่น q=1.9 ke=- k/0.36และพบว่าทางเดินพื้นที่การศึกษามีระดับการให้บริการที่ระดับ A ตามมาตรฐาน HCM 2010

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์