ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจะจ่ายเพื่อลดความสูญเสีย ของความพิการจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความพิการ, ความเต็มใจจะจ่าย, วิธีการประเมินมูลค่าทางตรงภายใต้ตลาดสมมติ, อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์บทคัดย่อ
ในปัจจุบันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศที่กำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกส่วนใหญ่มักเกิดจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ และพบมากในช่วงอายุ 15 – 39 ปี อีกทั้งการศึกษาอุบัติการณ์ของความพิการภายหลังการบาดเจ็บจากอุบัติจราจรทางบกยังมีไม่มากนักในปัจจุบัน งานศึกษานี้พยายามที่จะศึกษาอุบัติการณ์ความพิการและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุจราจรทางบก โดยศึกษาจากโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ สาม แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลหางดง และโรงพยาบาลสันป่าตอง พบว่า สาเหตุความพิการจากการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกตามการวินิจฉัยโรคตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ (ICD-10) สามอันดับแรก คือ การบาดเจ็บภายในสมอง (Intracranial Injury) กระดูกหัก (Fracture of Bone) และ การบาดเจ็บที่อวัยวะในช่องท้อง (Injury of intra-abdominal organs) และใช้แบบสอบถาม โดยวิธีการประเมินมูลค่าทางตรงภายใต้ตลาดสมมติ (Contingent Valuation Method) เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจะจ่าย จากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis ) พบว่า เพศ สถานภาพทางครอบครัว รายได้ และ ค่าเสียหายจากประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุ มีความสัมพันธ์แบบมีนัยสำคัญกับปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจะจ่าย
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์