การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสัญจรไปสู่ Active Mobility
คำสำคัญ:
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทาง, กิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย, การเดินทางแบบมีการขยับเขยื้อนร่างกายอย่างแข็งขันบทคัดย่อ
จากสภาวะการณ์ของโลกในปัจจุบัน เช่น มลพิษทางอากาศ การมีโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ ทำให้การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลานั้นเป็นเรื่องยาก ด้วยเหตุนี้ World Health Organization หรือ WHO จึงมีแนวคิดที่จะทำให้คนในสังคมมีสุขภาพดียิ่งขึ้นโดยการสนับสนุนให้คนมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอในกิจวัตรประจำวัน (Physical Activities, PA) หนึ่งในกิจวัตรประจำวันที่สำคัญที่ได้นำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้คือการเดินทาง หรือเรียกว่า Active Mobility ซึ่งหมายถึงการเดินทางที่ผู้เดินทางต้องมีการขยับเขยื้อนร่างกายอย่างแข็งขัน เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน เป็นต้น แนวคิดใหม่นี้ถูกนำไปใช้จนประสบผลสำเร็จในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อังกฤษ เป็นต้น ประเทศไทยเองก็ได้ริเริ่มการผสมผสานแนวคิดนี้กับการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับคนเดินเท้าและคนปั่นจักรยานที่มีเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบันในบางพื้นที่ยังคงเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการเดินทาง ประกอบกับเหตุผลด้านอื่น ๆ เช่น แรงจูงใจที่สามารถดึงดูดคนให้มาเดินทางแบบ Active Mobility ยังมีอยู่น้อย ดังนั้นโครงการนี้จึงมีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางไปสู่ Active Mobility ในเบื้องต้นได้เลือกสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นพื้นที่ศึกษา ท้ายสุดผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปกำหนดเป็นมาตรการเพื่อทำให้คนในพื้นที่ศึกษามีความสนใจที่จะเปลี่ยนมาเดินเท้าหรือปั่นจักรยานมากยิ่งขึ้นในอนาคต
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์