ปัจจัยที่บ่งชี้ความพึงพอใจด้านสังคมอย่างยั่งยืนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการรถไฟฟ้า

  • นัฐพล เนตรน้อย ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ KMITL
  • กรธวัช สุขโข
  • เจษฎา วัฒนพรไพโรจน์
  • กิตติพศ กวีสิทธิสารคุณ
  • จักรพงษ์ พงษ์เพ็ง
คำสำคัญ: ความยั่งยืน, ความพึงพอใจ, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ปัจจัย

บทคัดย่อ

โครงการรถไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่ช่วยพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย แต่ทั้งในขั้นตอนก่อน ระหว่าง และหลังการก่อสร้างโครงการอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมและชุมชนบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง เช่น ปัญหาการเวนคืนที่ดินอย่างไม่เป็นธรรม ปัญหาการจราจร ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม และปัญหาเกี่ยวกับทัศนียภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้นำไปสู่ความไม่พึงพอใจหรือความไม่ยั่งยืนของสังคม จากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับความยั่งยืนของโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยพบว่า ยังขาดการแนะนำปัจจัยที่บ่งชี้ความพึงพอใจด้านสังคมอย่างยั่งยืนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการรถไฟฟ้า ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยดังกล่าว โดยออกแบบแบบสอบถามเพื่อสำรวจข้อมูลจากเจ้าของโครงการรถไฟฟ้า ผู้รับเหมาก่อสร้าง และชุมชนใกล้เคียงกับโครงการรถไฟฟ้าเกี่ยวกับระดับความสำคัญของปัจจัยที่บ่งชี้ถึงความพึงพอใจด้านสังคมอย่างยั่งยืน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS โดย (1) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัย และ (2) เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของปัจจัยระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยผลการวิเคราะห์สามารถแบ่งกลุ่มปัจจัยได้ดังนี้ “ความเท่าเทียมกันในสังคม” “การคำนึงถึงสภาพแวดล้อม” “การควบคุมมาตรฐาน” “สุขภาพ ความปลอดภัยและความเสี่ยง” “เศรษฐกิจและสังคม” และ “การเข้าถึงและความพึงพอใจ”  ผลที่ได้จากงานวิจัยนี้จะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพัฒนาแนวทางร่วมกันในการสร้างความพึงพอใจด้านสังคมอย่างยั่งยืนให้กับโครงการรถไฟฟ้าในอนาคตต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-23