การทำนายความผิดปกติทางธรณีวิทยาบริเวณหน้าอุโมงค์ด้วยคลื่นไหวสะเทือน

ผู้แต่ง

  • พลพัชร นิลวัชราภรณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย

คำสำคัญ:

Tunnel Seismic prediction, F-K filter, Kirchhoff's migration, ธรณีฟิสิกส์

บทคัดย่อ

ความผิดปกติทางธรณีวิทยา เช่น บริเวณที่ชั้นหินแตกต่างจากสภาพโดยรอบ บริเวณโพรงถํ้าที่มีปริมาณนํ้าสูง อาจทําให้เกิดปัญหาในระหว่าง การขุดเจาะอุโมงค์ได้ เช่น การสูญเสียเสถียรภาพของหน้าอุโมงค์ การไหลทะลักของนํ้า และประสิทธิภาพในการขุดเจาะที่ลดลง ดังนั้นการทราบถึง ตําแหน่งของความผิดปกติทางธรณีวิทยาล่วงหน้าจึงเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนความปลอดภัย และแผนปฏิบัติงานขุดเจาะอุโมงค์ ในการศึกษานี้ ผู้วิจัยไดศ้ึกษาความเป็นไปได้ในการนําเทคนิคการตรวจวัดแบบTunnelSeismicPredictionมาคาดการณ์ความผิดปกติทางธรณีวิทยาบริเวณหน้า อุโมงค์ โดยจําลองการแพร่กระจายคลื่นแบบสังเคราะห์ด้วยวิธี Spectral Element Method ในแบบจําลองชั้นหินที่มีความผิดปกติทางธรณีวิทยา แล้วนําข้อมูลคลื่นที่สังเคราะห์ได้มาประมวลผลด้วยฟิลเตอร์แบบ F-K และการแปลผลแบบ Kirchhoff’s migration โดยคํานึงถึงทิศทางในการสั่น ไหวของคลื่น จากการศึกษาพบว่าวิธีการดังกล่าวตัดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากคลื่นสะท้อนในทิศทางที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปได้ และทําให้สามารถ ทํานายตําแหน่งของความผิดปกติทางธรณีวิทยาได้ใกล้เคียงกับแบบจําลองตั้งต้นที่ใช้ในการสร้างคลื่นสังเคราะห์ได้

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

นิลวัชราภรณ์ พ. (2021). การทำนายความผิดปกติทางธรณีวิทยาบริเวณหน้าอุโมงค์ด้วยคลื่นไหวสะเทือน. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, GTE-20. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/813