ผลกระทบของการปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียวต่ออัตราการไหลของโพลิเมอร์พีเอชพีเอ

ผู้แต่ง

  • เบญจพล เบญจวรางกูล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วีรยุทธ โกมลวิลาศ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ฐิรวัตร บุญญะฐี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สารละลายโพลิเมอร์พีเอชพีเอ, การปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียว, วิทยากระแส, ความหนืด, ความเข้มข้น

บทคัดย่อ

การก่อสร้างเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ในชั้นดินกรุงเทพฯ จำเป็นต้องใช้สารละลายช่วยในการรักษาเสถียรภาพของหลุมเจาะ สารละลายที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือสารละลายโพลิเมอร์พีเอชพีเอ เนื่องจากสารละลายโพลีเมอร์พีเอชพีเอสามารถไหลซึมเข้าไปในชั้นดินทรายได้ง่ายจึงเกิดการสูญเสียเป็นปริมาณมากในระหว่างการก่อสร้าง งานวิจัยนี้จึงศึกษาคุณสมบัติด้านวิทยากระแสของสารละลายดังกล่าวเพื่อใช้ในการอธิบายพฤติกรรมการไหลผ่านชั้นดิน นอกจากนี้ฝุ่นดินเหนียวที่เกิดขึ้นระหว่างการขุดเจาะผ่านชั้นดินเหนียวกรุงเทพฯ ก็ส่งผลต่อพฤติกรรมการไหลของสารละลาย งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาผลกระทบจากการปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียวด้วย โดยทำการทดสอบคุณสมบัติด้านวิทยากระแสของสารละลายโพลิเมอร์พีเอชพีเอที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ทั้งในกรณีปนเปื้อนและไม่ปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียวด้วยเครื่องทดสอบรีโอมิเตอร์ แล้วนำไปวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความหนืดกับอัตราเฉือนของสารละลายและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สามารถใช้ในการอธิบายคุณสมบัติด้านวิทยากระแสของสารละลายโพลิเมอร์พีเอชพีเอทั้งแบบปนเปื้อนและไม่ปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียว

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

เบญจวรางกูล เ., โกมลวิลาศ ว., & บุญญะฐี ฐ. (2021). ผลกระทบของการปนเปื้อนฝุ่นดินเหนียวต่ออัตราการไหลของโพลิเมอร์พีเอชพีเอ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, GTE-24. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/772