การปรับปรุงการออกแบบระบบประกอบอาคารบนพื้นฐานแบบจำลองสารสนเทศอาคารโดย การประยุกต์ใช้การออกแบบเชิงพารามิเตอร์
คำสำคัญ:
แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, การออกแบบเชิงพารามิเตอร์, งานระบบท่อบทคัดย่อ
ปัจจุปันการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ในการออกแบบงานระบบท่อ (MEP) ซึ่งกำลังขยายตัวและเติบโตเป็นอย่างมากในวงการการออกแบบและก่อสร้าง โดยปัญหาหลักที่มักพบคือ การออกแบบที่ซับซ้อนและมีความยุ่งยาก อาทิเช่น การระบุตำแหน่งการวางแนวท่อตามระดับความชัน ในปัจจุบันพบว่าการออกแบบเชิงพารามิเตอร์ เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยทำแบบจำลองในส่วนนี้ และยังสามารถใช้ในการแก้ปัญหาการทำงานแบบทำซ้ำ ให้มีความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว และประหยัดเวลาได้อย่างมาก ปัญหาและอุปสรรคได้ถูกรวบรวมจากการสัมภาษณ์วิศวกรงานระบบ นักออกแบบ และผู้ใช้โปรแกรมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ซึ่งปัญหาก็ถูกคัดกรองออกมาเป็นส่วนหนึ่ง ปัญหาเหล่านั้นก็ถูกนำมาวิเคราะห์ออกแบบ เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการทำการออกแบบเชิงพารามิเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้รับจะนำไปทวนสอบกับวิศวกรงานระบบหรือผู้ที่ใช้โปรแกรมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบว่าการออกแบบเชิงพารามิเตอร์ มีคุณสมบัติตามที่คาดหวังไว้
คำสำคัญ: แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, การออกแบบเชิงพารามิเตอร์, งานระบบท่อ.
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์