การศึกษากำลังอัดและการซึมผ่านของคลอไรด์ในคอนกรีตกำลังสูงที่ใช้เถ้าก้นเตาที่ปรับปรุงคุณภาพแล้วแทนที่ปูนซีเมนต์และมวลรวมละเอียดบางส่วน
คำสำคัญ:
เถ้าก้นเตา, คอนกรีตกำลังสูง, การซึมผ่านคลอไรด์, ความทนทานของคอนกรีตบทคัดย่อ
เถ้าก้นเตาเป็นวัสดุเหลือทิ้งเป็นผลพลอยได้จากโรงไฟฟ้าถ่านหินเช่นเดียวกับเถ้าถ่านหิน แต่อย่างไรก็ตามเถ้าก้นเตายังไม่เป็นที่นิยมในการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมคอนกรีตมากนัก โดยเฉพาะในงานคอนกรีตกำลังสูง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาเถ้าก้นเตาที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพเพื่อใช้แทนที่ปูนซีเมนต์และมวลรวมละเอียดในงานคอนกรีตกำลังสูงด้วยการร่อนผ่านตะแกรงเบอร์ 50 ค้างถาด (PAN) และนำมาบดละเอียดให้มีขนาดเล็กโดยมีอนุภาคค้างตะแกรงเบอร์ 325 ตํ่ากว่าร้อยละ 1.0 โดยนํ้าหนัก ใช้เถ้าก้นเตาที่ปรับปรุงคุณภาพทดแทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในอัตราส่วนร้อยละ 35, 50 และ 65 โดยนํ้าหนักของวัสดุประสาน อัตราส่วนนํ้าต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.25 และใช้สารลดนํ้าพิเศษเพื่อควบคุมการยุบตัวของคอนกรีตให้มีค่าเท่ากับ 17.5±2.5 เซนติเมตร ทดสอบกำลังอัด ความต้านทานการแทรกซึมของคลอไรด์ของคอนกรีต และการต้านทานการเกิดสนิมของเหล็กเสริมที่ฝังในคอนกรีตด้วยวิธีการเร่งด้วยไฟฟ้า จากการทดสอบพบว่า เถ้าก้นเตาที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยการร่อนผ่านตะแกรง เบอร์ 50 ค้างถาด (PAN) และนำไปบดละเอียด สามารถใช้แทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วนเพื่อใช้ผลิตคอนกรีตกำลังสูงได้ และคอนกรีตที่ใช้เถ้าก้นเตาที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้วเพื่อทดแทนปูนซีเมนต์ในปริมาณร้อยละ 50 โดยนํ้าหนักของวัสดุประสาน (GBA50) มีค่ากำลังอัดสูงที่สุด คือมีค่าเท่ากับ 84.5 เมกะปาสคาล ที่อายุ 90 วัน มีการซึมผ่านของคลอไรด์น้อยที่สุด และมีค่านํ้าหนักที่สูญเสียของเหล็กเสริมจากการเกิดสนิมตํ่าที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนผสมอื่นที่อายุเดียวกัน นอกจากนี้การใช้เถ้าก้นเตาที่ค้างตะแกรงเบอร์ 50 แทนที่มวลรวมละเอียดร้อยละ 60 โดยปริมาตร (GBA50-SBA60) ส่งผลด้านลบต่อคุณสมบัติของคอนกรีตไม่มากนัก
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์