การเสริมกำลังฐานรากสะพานด้วยเสาเข็มชนิดสปันไมโครไพล์
คำสำคัญ:
สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก, อัตราส่วนความปลอดภัย, สปันไมโครไพล์, การเสริมกำลังฐานราก, การกัดเซาะบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอวิธีการซ่อมแซมตอม่อสะพานที่ถูกลดค่าอัตราส่วนความปลอดภัยเนื่องมาจากการที่ดินใต้ฐานรากถูกน้ำกัดเซาะด้วยการใช้
สปันไมโครไพล์เสริมกำลังฐานรากสะพานมิตรภาพดงป่าลัน ต.แม่ฝาย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ซึ่งเปิดใช้งานสะพานมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี
กรมทางหลวงชนบทได้ทำการตรวจสอบกำลังรับน้ำหนักฐานรากเสาเข็มกลุ่มโดยตรวจสอบความยาวเสาเข็มด้วยคลื่นไซสมิคผ่านการเจาะขนานและได้คำนวณย้อนกลับกำลังรับน้ำหนักของฐานราก จากการประเมินพบว่าค่าอัตราส่วนความปลอดภัยมีค่าเพียง 1.04 ซึ่งในทางวิศวกรรมปฐพีซึ่งนิยมใช้ค่าอัตราส่วนความปลอดภัยมากกว่า 3 ถือว่ากรณีนี้มีความอันตรายเป็นอย่างมาก ถ้าสะพานนี้ถูกกัดเซาะเพิ่มขึ้นและถูกเปิดใช้งานต่อไปโดยไม่ซ่อมแซมอาจเกิดการพังทลายได้ กรมทางหลวงชนบทจึงได้คัดเลือกวิธีการซ่อมแซมโดยคำนึงถึงข้อจำกัดของพื้นที่ในการก่อสร้าง ความจำเป็นในการเปิดใช้งานสะพานในระหว่างการซ่อมแซม ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งได้พิจารณาข้อจำกัดต่าง ๆ แล้วจึงเลือกใช้การเสริมกำลังด้วยเสาเข็มด้วยสปันไมโครไพล์ซึ่งถูกตอกลึกถึงชั้นดินแข็ง จากนั้นทำให้น้ำหนักสะพานถูกถ่ายผ่านโครงสร้างชั่วคราวลงบนเสาเข็มใหม่ที่ตอกไว้ ได้ทำการยกสะพานขึ้นเล็กน้อยเพื่อถ่ายน้ำหนักสะพานลงสู่เสาเข็มและทำการก่อสร้างเสาคอนกรีตเสริมท่อเหล็กรูปพรรณเชื่อมต่อระหว่างฐานรากเดิมและเสาเข็มใหม่ ผลการดำเนินงานก่อสร้างแสดงให้เห็นว่าตอม่อสะพานบนเสาเข็มสปันไมโครไพล์สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างสะพานและได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรม
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์