การซ่อมแซมตอม่อสะพานที่ทรุดตัวด้วยเสาเข็มเจาะชนิดสปันไมโครไพล์

ผู้แต่ง

  • ภวินท์ ฤทธิรุฒม์ สำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวงชนบท

คำสำคัญ:

สะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก, การทรุดตัว, สปันไมโครไพล์, การเสริมกำลังฐานราก, การกัดเซาะ

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอวิธีการซ่อมแซมตอม่อสะพานใต้ฐานรากถูกน้ำกัดเซาะทำให้เกิดการทรุดตัวโดยแก้ไขด้วยการใช้สปันไมโครไพล์ทดแทนเสาเข็มฐานรากเดิมของสะพานข้ามคลองระแนะ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเปิดใช้งานสะพานมาเป็นเวลากว่า 27 ปี กรมทางหลวงชนบทได้ทำการตรวจสอบสะพานแล้วพบว่า ตอม่อของสะพานจำนวนสองจากแปดตับมีการทรุดตัวลงกว่า 30 เซนติเมตร ทำให้พื้นสะพานไม่อยู่ในแนวระดับเดิม ซึ่งจากความเสียหายดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการรับน้ำหนักของสะพานและอาจก่อให้เกิดอันตรายถ้ายังคงใช้งานต่อไป กรมทางหลวงชนบทจึงได้คัดเลือกวิธีการซ่อมแซมโดยคำนึงถึงข้อจำกัดของพื้นที่ในการก่อสร้าง ความจำเป็นในการเปิดใช้งานสะพานในระหว่างการซ่อมแซม ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งได้พิจารณาข้อจำกัดต่าง ๆข้างต้นแล้วจึงเลือกใช้วิธีการก่อสร้างด้วยเสาเข็มสปันไมโครไพล์ทดแทนเสาเข็มฐานรากเดิม โดยการตอกเสาเข็มดังกล่าวบริเวณฐานรากเดิมที่ทรุดตัว จากนั้นทำการดีดยกระดับพื้นสะพานและถ่ายน้ำหนักผ่านโครงสร้างชั่วคราวลงบนเสาเข็มสปันไมโครไพล์ใหม่ที่ตอกไว้ จากนั้นได้ทำการก่อสร้างฐานรากและเสาตอม่อรองรับพื้นสะพาน ทำการถ่ายน้ำหนักของสะพานลงสู่ตอม่อที่สร้างใหม่ ผลการดำเนินงานก่อสร้างแสดงให้เห็นว่าตอม่อสะพานบนเสาเข็มสปันไมโครไพล์สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างสะพานและได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรม

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

ฤทธิรุฒม์ ภ. (2021). การซ่อมแซมตอม่อสะพานที่ทรุดตัวด้วยเสาเข็มเจาะชนิดสปันไมโครไพล์. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, STR-19. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1156