การศึกษาผลกระทบต่อสภาพฝนของประเทศไทยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้เทคนิคปรับแก้ความคลาดเคลื่อนแบบสเกลเชิงเส้น
คำสำคัญ:
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การประเมินผลกระทบ, แบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลก, การปรับแก้ความคลาดเคลื่อนของข้อมูล, เทคนิคสเกลเชิงเส้นบทคัดย่อ
ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับภูมิภาคหรือลุ่มน้ำนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลสภาพภูมิอากาศระยะยาวจากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลกมาใช้ประกอบการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามข้อมูลสภาพภูมิอากาศจากแบบจำลองโลกมีสเกลที่ค่อนข้างหยาบหรือมีสเกลมากกว่า 100 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป และมีความคลาดเคลื่อนไปจากค่าสภาพภูมิอากาศตรวจวัดไปค่อนข้างมาก ดังนั้นการนำข้อมูลภูมิอากาศมาใช้ในการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศหรือระดับลุ่มน้ำจึงมีความจำเป็นต้องปรับแก้ความคลาดเคลื่อนของข้อมูลก่อนนำมาใช้งานสำหรับการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่มีผลต่อสภาพฝนในแง่ของแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบฝน รายเดือน รายฤดู และรายปี ในการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่มีผลต่อรูปแบบของสภาพฝนของประเทศไทยในแต่ละภูมิภาค โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับแก้ความคลาดเคลื่อนข้อมูลด้วยวิธีสเกลเชิงเส้น ร่วมกับข้อมูลฝนตรวจวัดจากสถานีตรวจอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลฝนจากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลก CMIP6 จำนวน 3 แบบจำลอง ได้แก่ CESM2, MRI-ESM2-0, BCC-CSM2-MR, GFDL-ESM4 และ CanESM และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยค่าสหสัมพันธ์ ค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนยกกำลังสอง ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์